Page 30 - kpiebook63028
P. 30
29
2. การแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นการกำาหนดพื้นที่ ซึ่งประชากรที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีภาษา เชื้อชาติ
วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ที่มีความเหมือนหรือความแตกต่างกัน เช่น ในเขตเลือกตั้งหนึ่ง
อาจรวมประชากรที่นับถือศาสนาพุทธมารวมกับประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม หรือคริสต์
ทำาให้เกิดความหลากหลายในทางศาสนา เป็นต้น
3. การแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นการกำาหนดพื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงขนาดของจำานวนประชากร และ
ความกว้างขวางของเขตการเลือกตั้ง เขตการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไปอาจเพิ่มหรือลดขนาดของ
พื้นที่ของเขตการเลือกตั้ง รวมถึงอาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มหรือลดจำานวนประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้ง
เป็นต้น
4. การแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ของผู้จัดการเลือกตั้งตามกฎหมายการเลือกตั้ง ทั้งนี้บางกรณี
ผู้จัดการเลือกตั้งแบ่งเขตเลือกตั้งโดยเจตนาบริสุทธิ์ บางกรณีผู้จัดการเลือกตั้งมีอคติใน
การแบ่งเขตการเลือกตั้งเพื่อเอื้อประโยชน์หรือเพื่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้สมัคร
บางราย กลุ่มการเมืองบางกลุ่ม หรือพรรคการเมืองบางพรรคในการเลือกตั้ง หรือที่เรียกว่า
Gerrymandering 1
ธงชัย วินิจจะกุล ได้ศึกษาผลจากการแบ่งเขตการเลือกตั้ง กรณีการเลือกตั้งทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
เขต 12 และ13 ในคราวการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2531 พบว่าการปรับเปลี่ยนเขตการเลือกตั้งมีผลกระทบ
ในทางการเมือง มีผลในการให้คุณให้โทษกับนักการเมืองอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจาก นักการเมืองจะต้องทำางาน
ด้านการเมืองในเขตเลือกตั้งของตนอย่างสมำ่าเสมอทั้งในระหว่างที่ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองหรือระหว่างที่มี
การเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง นักการเมืองจึงมีความคุ้นเคยกับพื้นที่ มีความสัมพันธ์กับประชาชนในเขตเลือกตั้ง
ในหลายมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม มิติทางการเมือง และมิติเชิงเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ (ธงชัย วินิจจะกุล,
2533, น. 60-65)
การแบ่งเขตการเลือกตั้งของกรุงเทพมหานครเกิดจากการเคลื่อนย้ายประชากรข้ามเขตของประชากร
กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วตามสภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้าย
ของชนชั้นกลางที่ย้ายออกจากเขตชั้นในของกรุงเทพมหานครออกไปเขตชั้นกลางและชั้นนอก
1 ที่มาของคำาว่า Gerrymandering มาจากการเลือกตั้งในมลรัฐแมสสาชูเซ็ท ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1812
ผู้ว่าการรัฐในขณะนั้น คือ Elbridge Gerry ได้จัดเขตการเลือกตั้งเพื่อให้ผู้สมัครที่ตนสนับสนุนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง
โดยไม่คำานึงถึงความสมเหตุสมผลในทางภูมิศาสตร์ หรือความเหมาะสมในเชิงพัฒนาการของการเป็นเขตเลือกตั้งเดิม
ตามการเลือกตั้งที่ผ่านมา การแบ่งเขตเลือกตั้งในครั้งนั้นเกิดเขตการเลือกตั้งที่มีลักษณะที่ประหลาดเหมือนตัว
Salamander จึงมีการนำาชื่อของผู้ว่าการรัฐ และชื่อของสัตว์ดังกล่าวมาสนธิกันกลายเป็น คำาใหม่ว่า Gerrymandering