Page 27 - kpiebook63028
P. 27
26 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี
แนวควำมคิดเกี่ยวกับกำรเลือกตั้ง
การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบที่สำาคัญที่สุดของระบบการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ทั้งนี้เพราะการเลือกตั้งเป็นการตัดสินใจของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตยว่า บุคคลหรือคณะบุคคลใด
สมควรได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตยแทนปวงชน ดังนั้น การเลือกตั้งจึงได้ถือว่าเป็นการแสดงออก
ซึ่งเจตนารมณ์ทั่วไปของประชาชนว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการอะไร ต้องการให้ประเทศดำาเนินไปในแนวทางใด
และในวิธีการเช่นไร
การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรให้ใช้อำานาจในการบริหารบ้านเมืองแทนราษฎรทั้งหลายนั้น เริ่มมีขึ้นใน
ประเทศอังกฤษก่อนจะมีการแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ โดยได้มีการเลือกตั้งผู้แทนของชาติขึ้นในประเทศ
อังกฤษตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยที่ประชุมของผู้แทนราษฎรนี้เรียกว่า Great and Model Parliament
ซึ่งกลายมาเป็นสภาสามัญ (House of Commons) แนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้นมีอยู่มากมาย
หลายประการ บ้างกล่าวว่าการเลือกตั้งนั้นเป็นสิทธิ บ้างกล่าวว่าการเลือกตั้งเป็นหน้าที่
แนวความคิดที่ว่าการเลือกตั้งเป็นเรื่องของสิทธินั้น ถือว่าประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตย
มีสิทธิในการเลือกตั้งอย่างถ้วนหน้า สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ต้องได้รับมอบหมายจากผู้ใด และไม่มี
ผู้ใดเพิกถอนสิทธินี้ได้ ในเมื่อเป็นสิทธิส่วนตัวของแต่ละคนเช่นนี้แล้วการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จึง
เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล คือไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดใช้อำานาจบังคับให้ประชาชนคนใดคนหนึ่งไปลงคะแนนเสียงใน
การเลือกตั้งได้ ถ้าหากประชาชนผู้นั้นไม่ต้องการไปใช้สิทธิ ตามแนวความคิดนี้เมื่อนำาไปปฏิบัติจะได้ผลดีกับ
ประเทศที่ประชาชนมีสำานึกทางการเมืองอย่างสมบูรณ์เท่านั้น สำาหรับในประเทศที่ประชาชนยังไม่เข้าใจถึง
ความสำาคัญของการเลือกตั้งแล้วจะปรากฏเสมอว่า มีปัญหาเรื่องมีผู้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงน้อย การจะเพิ่ม
จำานวนผู้ไปใช้สิทธิลงคะแนนกระทำาได้อย่างดีที่สุดก็คือ การโฆษณาเชิญชวนให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเท่านั้น การที่มี
ประชาชนไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งนั้นมีผลกระทบกระเทือนถึงผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับการเลือกตั้ง
อาจเป็นผู้ที่คุณสมบัติหรือความสามารถตรงตามที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการ แต่ก็ต้องยอมรับเพราะการไม่ไป
ใช้สิทธิเลือกตั้งเท่ากับเป็นการยอมรับผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง
สำาหรับแนวความคิดที่ถือว่าการเลือกตั้งเป็นหน้าที่นั้นมีพื้นฐานของแนวความคิดว่า อำานาจอธิปไตย
เป็นของปวงชนโดยส่วนรวมซึ่งหมายถึงชาติ ฉะนั้น ผู้ที่มีส่วนร่วมในการใช้อำานาจอธิปไตยจึงต้องมีหน้าที่
ซึ่งอาจมีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ไปลงคะแนนเสียงได้โดยมีบทกำาหนดลงโทษแตกต่างกันไป