Page 25 - kpiebook63028
P. 25

24       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี







             แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกำรเลือกตั้ง




                      การเลือกตั้งเป็นหัวใจสำาคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้หลักการสำาคัญใน

             การปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ


                      1.   หลักอำานาจอธิปไตยมาจากประชาชน (Popular Sovereignty) ประชาชนเป็นผู้สร้างรัฐขึ้นมา
                          มิใช่พระเจ้าเป็นผู้สร้างรัฐ ประชาชนจึงเป็นเจ้าของรัฐ ประชาชนมีสิทธิที่จะกำาหนดรูปแบบ

                          การปกครองประชาชน รัฐบาลนั้นมาจากประชาชนดังนั้นรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อประชาชน

                      2.   หลักการปกครองตนเองของประชาชน (Self - government) แต่เนื่องจากประชาชน

                          มีจำานวนมากไม่สามารถที่จะเข้าไปทำาการปกครองด้วยตนเอง จึงดำาเนินการในการเลือกตัวแทน
                          ของตนเข้าไปดำาเนินการปกครองแทน มีส่วนร่วมในการปกครองโดยการแสดงมติหรือแสดง

                          ความคิดเห็นทางการเมืองด้วยการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นเพื่อทำาหน้าที่แทนประชาชน

                      3.   หลักเสียงข้างมากในการตัดสินใจ (Majority Decision) ทั้งนี้เสียงข้างมากเปรียบได้กับเจตจำานง

                          ร่วม (General Will) ของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันเสียงข้างมากก็ต้องให้ความสำาคัญ
                          และรักษาผลประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เป็นเสียงข้างน้อยด้วย (Minority Rights)


                      4.   หลักนิติรัฐ (Rule of Law) ในการปกครองรัฐบาลต้องยึดถือหลักแห่งกฎหมายไม่ยึดถือ
                          ความเห็นส่วนตัวหรืออารมณ์ส่วนตัว การที่บุคคลจะได้มาซึ่งสิทธิหรือเสียไปซึ่งสิทธินั้นจะต้อง

                          เป็นไปตามตัวบทกฎหมายที่บัญญัติไว้ในขณะนั้นเท่านั้น

                      5.   หลักความยินยอมเห็นชอบร่วมกัน (Consensus) ถือว่าความสมัครใจของประชาชนเป็นหลัก

                          ความยินยอมและหลักของความเห็นพ้องต้องกันนั้นจะนำาไปสู่มนุษย์สัมพันธ์อันดี หลักการนี้
                          ถือว่าการที่รัฐบาลจะกระทำาในสิ่งซึ่งเป็นผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องเสียประโยชน์รัฐบาลต้อง

                          ให้ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความยินยอมเห็นชอบก่อน

                      6.   หลักรัฐบาลที่ดีต้องมีอำานาจจำากัด (Least Government) รัฐบาลมีแนวโน้มแสวงหาอำานาจ

                          ดังนั้นจำาเป็นต้องมีการกำาหนดขอบเขตอำานาจของรัฐบาลไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
                          พื้นฐานสำาคัญของรัฐ การจำากัดอำานาจรัฐที่สำาคัญ คือ การตรวจสอบถ่วงดุลแห่งอำานาจ (Checks

                          and Balances) ให้อำานาจนิติบัญญัติ อำานาจบริหาร และอำานาจตุลาการต่างมีอิสระแก่กัน
                          และสามารถตรวจสอบการใช้อำานาจต่อกันได้


                      7.   หลักความเสมอภาค (Equality) การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่า ประชาชนทุกคน

                          มีความเสมอภาคกันในทางการเมือง เช่น ประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปมีสิทธิเลือกตั้งอย่าง
                          เท่าเทียมกันหนึ่งคนหนึ่งเสียง ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ เช่น ทุกคนมีความเสมอภาค
                          ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ และความเสมอภาคในทางสังคม เช่น ความเสมอภาคในการเข้ารับ

                          การศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30