Page 29 - kpiebook63028
P. 29

28       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี








             กำรก�ำหนดเขตกำรเลือกตั้ง
             (Delineation of Constituencies)





                      เขตเลือกตั้ง คือ เขตพื้นที่ซึ่งกำาหนดขึ้นเพื่อการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เนื่องด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
             รัฐสภาหรือผู้แทนราษฎรนั้นไม่อาจทำาได้โดยการเลือกรวมกันทั้งประเทศ โดยให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนน

             เลือกตั้งสมาชิกทั้งสภาได้ด้วยเหตุผลหลายประการ คือ จำานวนผู้สมัครรับเลือกตั้งจะมีจำานวนมากเกินไปผู้เลือกตั้ง
             ไม่อาจตัดสินใจเลือกได้ นอกจากนั้นความใกล้ชิดระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้เลือกตั้งไม่อาจจะมีได้ ผู้เลือกตั้ง

             ก็จะไม่ทราบถึงคุณสมบัติ และความรู้ความสามารถของผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นองค์ประกอบและปัจจัยในการ
             ตัดสินใจเลือกได้ ดังนั้นในประเทศทั่วไปจึงมักนิยมกำาหนดเขตเลือกตั้งขึ้นเป็นเขตพื้นที่ย่อย ๆ ภายใน ประเทศ

             เพื่อความสะดวกในการเลือกตั้ง หลักเกณฑ์ที่ดีในการกำาหนดเขตเลือกตั้งนั้นมักจะคำานึงถึงเหตุผล 3 ประการ คือ


                      ประการแรก คำานึงถึงจำานวนผู้มีสิทธิออกเสียงโดยแบ่งให้เท่า ๆ กันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดในแต่ละเขต
             เพื่อที่จะให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งแต่ละคนเป็นตัวแทนของประชาชนในจำานวนเท่า ๆ กันหรือใกล้เคียงกันที่สุด


                      ประการที่สอง ควรคำานึงถึงเขตพื้นที่ที่กำาหนดโดยธรรมชาติ หรือเหตุผลในทางภูมิศาสตร์เขต

             การปกครอง หรือการแบ่งเขตทางการเมืองในแต่ละประเทศ การแบ่งเขตทางการเมืองได้แก่ในประเทศสหพันธรัฐ
             มลรัฐต่าง ๆ ถือเป็นเขตทางการเมืองภายในประเทศ


                      ประการที่สาม ควรจะได้พิจารณาทบทวนการแบ่งเขตเลือกตั้งอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ

             การโยกย้ายถิ่นฐานของประชากร และเพื่อความถูกต้องของจำานวนประชากรในเวลาที่มีการเลือกตั้ง ซึ่งควรมี
             การพิจารณากำาหนดเขตเลือกตั้งใหม่ทุกครั้งที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไป


                      การแบ่งเขตการเลือกตั้ง (Constituencies) เป็นขั้นตอนสำาคัญของกระบวนการจัดการเลือกตั้ง
             ในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีการจัดการเลือกตั้งในระดับประเทศ และการเลือกตั้งในระดับ

             ท้องถิ่นนั้น มีนักวิชาการจำานวนมากที่สนใจศึกษาการเมืองเรื่องการแบ่งเขตการเลือกตั้ง


                      ธงชัย วินิจจะกุล (2533, น.1-3) ชี้ถึงความสำาคัญของการแบ่งเขตเลือกตั้งไว้ 4 ประการ ดังนี้


                      1.  การแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นการกำาหนดพื้นที่ ที่อาจมีความเหมือนหรือมีความต่างกันในทางเศรษฐกิจ
                          ที่มีความเหมือนหรือมีความแตกต่างกันให้เป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน เช่น ในเขตการเลือกตั้งหนึ่ง

                          อาจรวมพื้นที่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรที่มีรายได้สูงรวมกับเขตชุมชนแออัด ซึ่งประชากร
                          ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่องรายได้ เป็นต้น
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34