Page 26 - kpiebook63028
P. 26

25








                          8.   หลักการใช้เหตุผล (Rationality) ยอมรับว่ามนุษย์มีเหตุผลและเป็นสัตว์ที่ฉลาด (Homo Sapiens)

                               การปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงให้มีการโต้เถียงกันในรูปแบบการอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยน
                               ความคิดเห็นกันซึ่งปรากฏในรูปแบบการอภิปรายของบรรดาสมาชิกในรัฐสภา


                          9.   หลักความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง (Right of Dissent and Disobedience) โดยการ
                               ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล การปกครองในระบอบประชาธิปไตยต้องให้

                               ความเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยเฉพาะความคิดเห็นที่แตกต่างในทางการเมือง การรวบรวม
                               ผู้ที่มีความคิดเห็นในทางการเมืองเหมือนกันเป็นพรรคการเมือง (Political Parties) ทำาให้เกิด

                               พรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค โดยพรรคการเมืองเป็นผู้รวบรวมความคิดเห็นของประชาชน
                               เพื่อนำามาแสดงออกทางการเมืองผ่านกระบวนการทางการเมืองตามกฎหมายอย่างอิสระ

                               นอกจากนี้หากรัฐกระทำาการอันขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนอันเป็นพื้นฐานสำาคัญของการดำารงอยู่
                               ของรัฐตามแนวคิดสัญญาประชาคมแล้ว ถือว่าคำาสั่งของรัฐนั้นไม่ชอบธรรม ประชาชนมีสิทธิ

                               ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำาสั่งอันไม่ชอบธรรมดังกล่าวของรัฐ

                          10.  หลักมองมนุษย์ในแง่ดี (Optimistic) มนุษย์แต่ละคนมีความดีอยู่ในตัวเอง มีคุณค่าในตัวเอง

                               สามารถควบคุมตนเองได้ ดังนั้นรัฐบาลควรเป็นรัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สุด (Least Government)
                               ที่ไม่มีความจำาเป็นที่ควบคุมประชาชนมากเกินไป


                          11.  หลักเสรีภาพ (Liberty) ช่วยให้มนุษย์สามารถแสดงออกความคิด ความเห็น และเหตุผล เพื่อเป็น
                               หลักประกันในเสรีภาพดังกล่าวจึงได้บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ การใช้เสรีภาพของ

                               แต่ละบุคคลจะต้องไม่ละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นด้วยซึ่งเป็นการใช้เสรีภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม
                               แต่การปกครองในระบอบเผด็จการมักจะมุ่งจุดหมายปลายทางโดยไม่คำานึงถึงความเหมาะสม

                               ของวิธีการว่า ประชาชนจะพอใจหรือส่วนใหญ่จะเห็นด้วยหรือไม่

                          12.  หลักความสำาคัญของวิธีการ (Means) มีความสำาคัญเท่ากับจุดหมายปลายทาง (Ends)

                               ประชาธิปไตยยอมรับว่าวิธีการที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางนั้นมีหลายวิธีและแตกต่างกัน

                               ตามความเหมาะสมกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่การปกครองในระบอบเผด็จการมักจะมุ่ง
                               จุดหมายปลายทางโดยไม่คำานึงถึงความเหมาะสมของวิธีการว่า ประชาชนจะพอใจหรือส่วนใหญ่
                               จะเห็นด้วยหรือไม่
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31