Page 109 - kpiebook63019
P. 109

104






                     
 
   4.2.1.7  ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิต่อการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านการเป็นตัวแทน

               ของประชาชน

                     
 
 
 
     
   ความหลากหลายของสมาชิกนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นตรงกันการมีที่มาจากการแต่งตั้ง

               ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทำให้ความหลากหลายน้อยมาก โดยเฉพาะสัดส่วนของสตรี และผู้ด้อย
               โอกาส เนื่องจากความจำเป็นจึงทำให้เกิดสภาวะเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่เห็นว่าแม้ผู้ที่ดำรง

               ตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมิได้ถูกแต่งตั้งโดยจำแนกตามกลุ่มอาชีพ แต่ก็เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
               ในด้านต่าง ๆ จริง เพราะไม่มีตัวแปรด้านความเป็นพรรคการเมือง มีความเป็นมืออาชีพ และไม่มีปัญหา
               ในการทำงานร่วมกัน


                                     ระบบและกลไกการบริหารจัดการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อสร้างความเสมอภาค
               ความเท่าเทียมกันในการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภานั้น ผู้ทรงคุณวุฒิบางส่วนเห็นว่า สำนักงานเลขาธิการ
               วุฒิสภาซึ่งทำหน้าบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการได้ดี

               เป็นปัจจัยทางบวกที่ทำให้การทำงานร่วมกันราบรื่น  ทั้งนี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่คิดว่าตนเองเป็น
               นักการเมือง แต่เป็นกลไกต้องทำงานร่วมกันเป็นความร่วมมือกันในการทำงานระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

               และรัฐบาล ทำให้มีประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานไม่จะเน้นการอภิปราย พิจารณาเรื่องความมั่นคงของรัฐบาล
               และความสะดวกของการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก แม้ในการทำงานฝ่ายบริหารจะไม่ได้ควบคุม
               การแสดงความคิดเห็น แต่สมาชิกเองก็เลือกที่จะควบคุมตนเองไม่แสดงความเห็นที่แตกต่าง เน้นการแสดง

               ความเห็นสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล

                                     ความโปร่งใสในการได้มาของสมาชิกรัฐสภานั้น ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นตรงกันว่า

               ไม่สามารถตรวจสอบกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้

                     
 
 
 4.2.1.8  ข้อเสนอแนะ ต่อการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน


                     
 
 
 
     
   แม้ทั้งที่ประชุมกลุ่มและผู้ทรงคุณวุฒิจะเห็นตรงกันว่าไม่ควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
               ทางการเมืองจนต้องการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นอีกในอนาคต แต่ทั้งสองกลุ่มก็ได้ให้ข้อแนะนำแก่
               กระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติไว้ดังนี้


                                       -  การได้มาซึ่งสมาชิกควรมีการปรับปรุงกติกาการคัดเลือกให้หลากหลาย
                                         โดยเฉพาะการให้มีฝ่ายที่เห็นต่างเข้ามาร่วมด้วย

                                          -  ควรมีการกระจายคนที่ทำหน้าที่ให้เหมาะสมกับวงงานด้านต่าง ๆ

                                          -  ให้มีกระบวนการซึ่งได้มาซึ่งสมาชิกเพศหญิงมากขึ้น โดยมีสัดส่วนเพศหญิง

                                         อย่างน้อยร้อยละ 20

                                       -  ควรจัดระบบอย่างเป็นทางการว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีตัวแทน
                                         กลุ่มใดบ้าง อาทิ กลุ่มทหาร กลุ่มข้าราชการ ข้าราชการพลเรือน นักธุรกิจ

                                         เป็นต้น







            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114