Page 111 - kpiebook63019
P. 111

106






               ภาพ 4-7 ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินรัฐสภา ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติในรายองค์ประกอบย่อย









































               โดยที่  L1  คือ  กรอบแนวคิดและกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภาและคณะกรรมาธิการ
                    L2  คือ  การมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย
                    L3  คือ  คุณลักษณะของกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
                    L4  คือ  ขีดความสามารถของกรรมาธิการในการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ
                    L5  คือ  กรอบระยะเวลาและงบประมาณในการตรากฎหมาย


                     
 
 
 4.2.2.2  ผลการประเมินรัฐสภา ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ จำแนกข้อมูลตาม

               กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

                     
 
 
 
     
   หากพิจารณาผลการประเมินตามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล พบว่า ผลการดำเนินงานของ

               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ ในกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมี
               การดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.90, S.D. = 1.09) ในขณะที่ กลุ่มเวทีภาคกลาง
               (กรุงเทพมหานคร) มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.36,

               S.D. = 0.71) และเมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย พบว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มเวที
               ภาคเหนือ (เชียงราย) สูงกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมของทุกองค์ประกอบ และค่าเฉลี่ยของกลุ่มเวทีภาคกลาง

               (กรุงเทพมหานคร) และกลุ่มเวทีภาคใต้ (นครศรีธรรมราช) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมของทุกองค์ประกอบ







            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116