Page 107 - kpiebook63019
P. 107
102
ตาราง 4-8 ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินรัฐสภาด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน จำแนกผู้ประเมินตาม
กลุ่มอายุ
น้อยกว่า 51 ปี 51-60 ปี มากกว่า 60 ปี
องค์ประกอบย่อย
ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ
R1 2.11 0.88 28 2.26 0.86 33 1.95 0.84 37
R2 2.78 0.63 19 2.96 0.61 25 2.99 0.86 29
R3 1.59 1.34 27 1.97 1.13 33 1.83 1.18 35
R 1.90 0.92 28 2.13 0.81 36 2.07 0.91 37
4.2.1.5 ผลการประเมินรัฐสภา ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน จำแนกข้อมูลตาม
กลุ่มระดับการศึกษา
หากพิจารณาผลการประเมินตามระดับการศึกษา พบว่าผลการดำเนินงานของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน ในกลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.37, S.D. = 0.83) ในขณะที่
กลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 1.94,
S.D. = 0.94) และเมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย พบว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
สูงกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวมเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบด้านระบบและกลไก
การบริหารจัดการของรัฐสภาเพื่อสร้างความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา
ที่มีค่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า ค่าเฉลี่ยด้านความหลากหลายของสมาชิกรัฐสภาของ
กลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยด้านระบบและกลไก
การบริหารจัดการของรัฐสภาเพื่อสร้างความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในการทำหน้าที่ของสมาชิก
รัฐสภาของทุกกลุ่มระดับการศึกษา มีค่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม และค่าเฉลี่ยด้านความโปร่งใส
ในการได้มาของสมาชิกรัฐสภาของกลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม
ค่อนข้างมาก สรุปผลได้ดังตาราง 4-9
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)