Page 103 - kpiebook63019
P. 103
98
ตาราง 4-5 ผลการประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาโดยภาพรวม จำแนกตามระดับการศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
องค์ประกอบย่อย
ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ
R 2.37 .83 13 2.15 .69 25 1.94 .94 63
O 2.19 .97 13 2.86 .70 24 2.48 .94 62
L 2.71 .72 13 2.79 .73 25 2.65 1.03 65
T 2.15 .85 13 2.56 .80 25 2.56 .99 65
A 2.24 .88 12 2.72 .77 24 2.70 .85 63
I 2.21 .99 11 2.62 .68 24 2.88 .92 58
4.2 ผลการดำเนินงานของรัฐสภา
แยกตามด้านต่าง ๆ ประกอบความคิดเห็นจากการประชุมกลุ่ม
และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
4.2.1 ผลการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน
4.2.1.1 ผลการประเมินรัฐสภา ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชนในภาพรวม
ผลการศึกษาพบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.05,
S.D. = 0.88) โดยเมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบย่อย พบว่า ด้านระบบและกลไกการบริหารจัดการของรัฐสภา
เพื่อสร้างความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมี
การดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.93, S.D. = 0.72) รองลงมา คือ ด้านความหลากหลาย
ของสมาชิกรัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.10, S.D. = 0.86) และ
ด้านความโปร่งใสในการได้มาของสมาชิกรัฐสภา มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับต่ำ
(ค่าเฉลี่ย = 1.81, S.D. = 1.21) สรุปได้ดังภาพ 4-6
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)