Page 110 - kpiebook63019
P. 110

105






                                       - ควรมีกลไกการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ประชาชนสามารถติดตามงาน

                                         รัฐสภาได้

                                       -  การดำเนินงานต้องเข้าถึงประชาชน ชาวบ้านต้องมีส่วนร่วม ต้องให้ข้อมูล

                                         การลงพื้นที่ และมีการตอบกลับข้อมูลที่ส่งให้อย่างเป็นระบบ

                      4.2.2 ผลการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ


                     
 
   4.2.2.1  ผลการประเมินสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติในภาพรวม

                     
 
 
 
     
   ผลการประเมินรัฐสภา ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ ในภาพรวมพบว่า
               มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.69, S.D. = 0.93) โดยเมื่อพิจารณาตาม

               องค์ประกอบย่อย พบว่าขีดความสามารถของกรรมาธิการในการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ มีคะแนนเฉลี่ย
               สูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.39, S.D. = 0.79) รองลงมา คือ คุณลักษณะของ
               กฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.13, S.D. = 0.98)

               กรอบระยะเวลาและงบประมาณในการตรากฎหมาย มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.93,
               S.D. = 1.01) ด้านกรอบแนวคิดและกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภาและคณะกรรมาธิการ

               มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.92, S.D. = 0.86) และ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
               และผู้มีส่วนได้เสีย มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.72,
               S.D. = 1.00) สรุปได้ดังภาพ 4-7
















































            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115