Page 11 - kpiebook63014
P. 11
10 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดสุรินทร์
ระบอบประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นคือ การเชื่อว่ากระบวนการ และสถาบันประชาธิปไตย กล่าวคือ พรรคการเมือง
เป็นเป้าหมายที่ดีที่สุดเพื่อการปกครองชีวิตสาธารณะร่วมกัน
(2) การจ่ายเงินเพื่อซื้อเสียง จากการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การศึกษาเอกสาร กฎระเบียบ
ที่เกี่ยวข้อง พบว่าการเลือกตั้งจังหวัดสุรินทร์เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 การหวังชนะด้วยการจ่ายเงิน
ซื้อเสียงอย่างเดียวไม่สามารถเป็นปัจจัยตัดสินผลการเลือกตั้งได้เพียงปัจจัยเดียวอีกต่อไป จากการลงพื้นที่
สังเกตการณ์และร่วมสนทนากับผู้นำาท้องที่พบว่า ผู้นำาท้องที่มีความระมัดระวังตัวในการวางตัวในช่วง
เลือกตั้งอย่างมาก ผู้ใหญ่บ้านแห่งหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่าต้องวางตัวเป็นกลาง เพราะในหมู่บ้านมีผู้สมัคร
ของพรรคประชาธิปัตย์เป็นลูกบ้านอยู่ ในขณะที่ผู้ใหญ่บ้านอีกแห่งมองว่าการวางตัวเป็นกลางคือ การ
อำานวยความสะดวกให้กับลูกบ้านในการเดินทางไปฟังปราศรัยหาเสียงให้กับทุกพรรคการเมืองที่ติดต่อ
เข้ามายังหมู่บ้านเขา
ในส่วนของพรรคการเมือง การใช้จ่ายเงินนอกเหนือจากที่กำาหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง เรื่อง กำาหนดจำานวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ซึ่งกำาหนด
ค่าใช้จ่ายสำาหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ใช้จ่ายในการเลือกตั้งไม่เกิน 1,500,000 บาท และยังกำาหนดให้
พรรคการเมืองมีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 35,000,000 ล้านบาท โดย
ค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองยังมีการกำาหนดว่าต้องเป็นไปเพื่อการหาเสียงของพรรคตามระเบียบ
คณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียง รวมทั้งผู้สมัครต้อง
รายงานค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการหาเสียงหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง เพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายเงินว่า
มีลักษณะเข้าข่ายต้องห้ามหรือไม่ก่อนรับรองคะแนนอย่างเป็นทางการ การกำาหนดจำานวนผู้ช่วยหาเสียง
ได้ไม่เกิน 20 คน การแจ้งรายละเอียดของรถที่ใช้ในการหาเสียง ดังนั้นการใช้เงินซื้อเสียงในการเลือกตั้ง
จังหวัดสุรินทร์เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ผู้วิจัยไม่พบการใช้เงินเพื่อซื้อเสียงอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
จะมีเพียงการกล่าวหากันไปมาว่า พรรคการเมืองที่รัฐบาลสนับสนุนมีการจ่ายเงิน แต่ไม่สามารถระบุ
หลักฐานได้ชัดเจน
ข้อเสนอแนะที่พบจากการศึกษาวิจัย มีดังนี้ (1) ในส่วนของระบบการเลือกตั้งที่มาจากการกำาหนด
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่นำาไปสู่ระบบบัตรเลือกตั้ง 1 บัตรที่สะท้อนที่นั่งของ
ผู้แทนของประชาชนทั้งในระดับพื้นที่และบัญชีรายชื่อของพรรค เป็นส่วนที่จำากัดโอกาสในการเลือก
“พรรคที่ใช่ คนที่ชอบ” เพราะปรากฏการณ์ของจังหวัดสุรินทร์พบว่ามีทั้งประชาชนที่ชอบผู้สมัคร แต่อาจ
ไม่ชอบพรรคที่ผู้สมัครนั้นสังกัด หรือชอบพรรคแต่ไม่รู้จักผู้สมัครในเขตเลือกตั้งตน แต่จำาต้องเลือกทั้งคน
และพรรคไปพร้อมๆ กัน ทำาให้โอกาสในการตัดสินใจทางการเมืองถูกจำากัดจากระบบการเลือกตั้งดังกล่าว
ดังนั้นในเชิงข้อเสนอจึงควรกลับไปพิจารณาประเด็นนี้ในการออกแบบระบบเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กลายเป็นส่วนสำาคัญในการปรับเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง
(2) ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์