Page 7 - kpiebook63014
P. 7

6     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์





                                        บทสรุปผู้บริหาร



















                      โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมือง

             และความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
             และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ (3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของพฤติกรรม
             ทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ

             การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์


                      ขอบเขตด้านเวลาของการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง
             ช่วงระหว่างการมีพระราชกฤษฎีกากำาหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือน ภายหลัง

             จากคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในจังหวัดสุรินทร์ ประชากร
             ที่ทำาการศึกษาได้แก่ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรอิสระ องค์กรสาธารณะ

             สื่อมวลชน และองค์กรอื่นๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้ง ในระดับเขตจังหวัดสุรินทร์ ตลอดจนความตื่นตัว
             สนใจ การเข้ามีส่วนร่วม และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน โดยระยะเวลาในการศึกษาวิจัยระหว่าง

             วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 -30 กันยายน 2562 โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมและวิเคราะห์
             ข้อมูลจากการสัมภาษณ์  การสังเกตการณ์ การศึกษาเอกสาร กฎระเบียบ ข้อมูลจากสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

             ผู้วิจัยสามารถแบ่งข้อค้นพบออกได้เป็น 3 ประการตามกรอบวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ตั้งไว้ดังนี้


                      (1) บรรยากาศทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมือง
             ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ องค์กรที่สำาคัญคือคณะกรรมการ

             การเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุรินทร์ เพราะระบบการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับจังหวัดสุรินทร์
             เป็นหนึ่งในสิบจังหวัดที่มีเขตเลือกตั้งที่มีขอบเขตพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปอันส่งผลให้เขตเลือกตั้งลดลง

             1 เขตเลือกตั้งจากการเลือกตั้งก่อนหน้านั้น อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ประชาชนใน
             เขตเลือกตั้งในจังหวัดสุรินทร์ พบว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุรินทร์ ไม่สู้จะมีบทบาท

             ในการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจต่อระบบการเลือกตั้งที่นำามาใช้ในการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562
             เท่าไรนัก ประชาชนเข้าใจระบบการเลือกตั้งผ่านการรับรู้ทางสื่อต่างๆ ทั้งสื่อในภาคปกติ เช่น โทรทัศน์

             วิทยุ หนังสือพิมพ์ รวมถึงสื่อโซเซียลมีเดียทั้งหลาย ในขณะเดียวกันการอบรมสร้างความเข้าใจให้กับ
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12