Page 8 - kpiebook63014
P. 8

7








                  คณะกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนหมู่บ้านในหน่วยเลือกตั้งเหล่านั้น เพียง

                  1 ครั้งก่อนวันเลือกตั้ง อาจส่งผลให้ความเข้าใจในกติกาที่กำากับการเลือกตั้งคลาดเคลื่อนได้


                          บรรยากาศทางการเมืองและการเคลื่อนไหวขององค์กรต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์  พบว่าฐานเสียง
                  เก่าของบรรดาผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตที่ 1 และ เขตที่ 3-5 ต่างเป็นนักการเมืองเก่าในพื้นที่ แม้ว่าเมื่อ

                  นักวิจัยลงพื้นที่จะพบว่าบรรยากาศทางการเมืองดูไม่คึกคัก เนื่องจากบรรดาผู้นำาท้องถิ่นได้รับการกำาชับ
                  จากส่วนกลางให้ปฏิบัติตนเป็น “กลาง”ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ผลการเลือกตั้งสามารถอธิบายปรากฏการณ์

                  ของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเครือข่าย องค์กรที่ไม่เป็นทางการที่มีการทำางานกับประชาชนในเขต
                  พื้นที่รับผิดชอบของตนเองอย่างสมำ่าเสมอ การวิจัยครั้งนี้ยิ่งตอกยำ้าให้เห็นความสำาคัญของการตอบสนอง

                  ต่อประชาชนในพื้นที่ในยามที่ประเทศเว้นว่างจากการเลือกตั้งถึง 8 ปี ว่าเครือข่ายการทำางานขององค์กรที่
                  ไม่เป็นทางการของบรรดานักการเมืองในพื้นที่ทำางานในการสร้างความศรัทธาและเป็นที่พึ่งของประชาชน

                  ในยามที่ไม่มีตัวแทนของพวกเขานั่งอยู่ในรัฐสภา กล่าวได้ว่าแม้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ กระแสของความ
                  รวดเร็วของเทคโนโลยีการสื่อสารจะมีอิทธิพลต่อผู้คนในสังคม แต่สำาหรับการทำางานของบรรดานักการเมือง

                  ในพื้นที่การเกาะติด ร่วมงานทางประเพณีและงานพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่งงาน งานศพ
                  งานทำาบุญตามเทศกาลต่างๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำาให้คนในพื้นที่ไม่ลืมผู้สมัครเหล่านั้น


                          (2) พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
                  ราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ สามารถพิจารณาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงคะแนน

                  เสียงเลือกตั้งจังหวัดสุรินทร์  และ พฤติกรรมของผู้รับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์


                          ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 พบว่าพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
                  จังหวัดสุรินทร์แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มคนในวัยกลางคน-คนสูงอายุ กับ กลุ่มคนรุ่นใหม่

                  ซึ่งกลุ่มคนในวัยกลางคน-คนสูงอายุ พบพฤติกรรมในการเลือกตั้งที่แตกต่างกัน คนในกลุ่มนี้แสดงพฤติกรรม
                  ในการเลือกตั้งโดยอาศัยปัจจัยในเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวตัดสินใจ กล่าวคือพิจารณาที่นโยบายที่จะกระทบ

                  กับชีวิตของพวกเขา คนจำานวนหนึ่งในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคการเมือง
                  ที่เคยมีนโยบายเศรษฐกิจที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าได้ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน

                  การให้ความสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และมีความเชื่อมั่นว่าพรรคการเมืองที่มีผลงานใน
                  อดีตด้านเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมเป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการด้านเศรษฐกิจของตนเอง ในขณะที่

                  คนอีกจำานวนหนึ่งในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเลือกพรรคการเมืองที่ให้ประโยชน์ในเชิงสวัสดิการ เพราะเชื่อว่า
                  สวัสดิการเป็นส่วนสำาคัญในด้านที่เป็นปัจจัยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ เช่น การสนับสนุนบัตร

                  สวัสดิการแห่งรัฐ คนในกลุ่มนี้จึงมีแนวโน้มเลือกพรรคการเมืองที่สานต่อนโยบายด้านสวัสดิการที่ดำารงอยู่
                  ในปัจจุบัน เพราะเกรงว่าหากพรรคการเมืองอื่นจัดตั้งรัฐบาลได้นโยบายสวัสดิการเหล่านี้จะถูกตัดออกจาก

                  การกำาหนดนโยบาย ดังนั้นหากวิเคราะห์ด้วยแนวคิดวัฒนธรรมการเมือง จะพบว่ามีแบบแผนทางความคิด
                  ความเชื่อ ความรู้สึกและทัศนคติที่มีต่อระบบการเมืองที่แตกต่างกัน ในลักษณะวัฒนธรรมการเมือง

                  แบบผสม “วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบผสมกับการมีส่วนร่วม” ซึ่งมีลักษณะของกลุ่มคนที่มีรู้สึกต่อ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13