Page 13 - kpiebook63014
P. 13

12    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์





                                               บทคัดย่อ













                      โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมือง

             และความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
             และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ (3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของพฤติกรรม
             ทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ

             การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ ผลการศึกษาพบว่า

                      (1) บรรยากาศทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมือง

             ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ พบว่าสำานักงานคณะกรรมการ

             การเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุรินทร์ มีบทบาทในการรณรงค์ให้เกิดความเข้าใจในการเลือกตั้งค่อนข้างน้อย
             รวมทั้งการสร้างความเข้าใจให้กับคณะกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้งที่ค่อนข้างน้อย ข้อจำากัดทาง
             กฎหมายที่สั่งการมาจากส่วนกลางมายังระดับท้องที่ในเรื่องการวางตัวเป็นกลาง ประกอบกับความรวดเร็ว

             ของเทคโนโลยีสื่อสารที่หากเกิดเหตุการณ์วางตัวไม่เป็นกลางจะถูกเผยแพร่อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้บรรดา

             หัวคะแนนเดิมที่มักจะเป็นกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำาท้องถิ่น มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
             ที่ระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ


                      (2) พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ สามารถพิจารณาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ พฤติกรรมทางการเมืองของ

             ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจังหวัดสุรินทร์  และ พฤติกรรมของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             จังหวัดสุรินทร์ .ในส่วนของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสามารถแยกพฤติกรรมการตัดสินใจลงคะแนนเสียง

             จากช่วงอายุ และนโยบายของพรรค ขณะที่พฤติกรรมของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกปิดกั้นการทำากิจกรรม
             ทางการเมืองหลังการรัฐประหารปี 2557 ได้สร้างระบบสายสัมพันธ์และเครือข่ายอุปถัมภ์ผ่านกิจกรรม

             ในเชิงการพัฒนาที่นำาไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประชาชนพร้อมกับความสัมพันธ์ทางการเมือง

                      (3) แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการตัดสินใจเลือกตั้ง ดำารงอยู่บนปัจจัย

             สำาคัญ อันประกอบด้วย พรรคการเมืองที่นักการเมืองสังกัด โดยที่การซื้อเสียงด้วยเงินเป็นแบบแผน
             พฤติกรรมทางการเมืองที่ไม่ปรากฏในเชิงรูปธรรมที่ชัดเจน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18