Page 9 - kpiebook63014
P. 9

8     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             การยอมรับอำานาจรัฐที่เอื้อเฟื้อสวัสดิการทางสังคมที่เป็นประโยชน์สำาหรับสภาวะเศรษฐกิจที่ยำ่าแย่ ดังนั้น

             จึงไม่อยากเปลี่ยนแปลงอำานาจรัฐ เพราะไม่ต้องการให้ผลประโยชน์ของตนสูญเสียไป แม้จะต้องแลกกับ
             สิทธิและเสรีภาพทางการเมืองที่ถูกจำากัด กับกลุ่มคนที่ต้องการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนผ่าน

             ข้อจำากัดด้านสิทธิเสรีภาพทางการเมือง และมุ่งหวังว่าการเปลี่ยนผ่านนั้นจะนำามาซึ่งความสามารถในการ
             มีส่วนร่วมรัฐบาลในการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กับการมีเสรีภาพทางการเมือง


                      ส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสภาพการเมืองที่เป็นอยู่ แม้ว่า

             กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีอิทธิพลอย่างสถาบันครอบครัว ก็ไม่สามารถที่จะมีอิทธิพล
             ต่อการตัดสินใจของคนกลุ่มนี้ได้เหมือนในอดีต ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกล่อมเกลาคนกลุ่มนี้คือบรรดา

             ช่องทางการสื่อสารทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารทางโลกออนไลน์ รวมทั้งการมีกลุ่มเพื่อนที่
             อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน เป็นส่วนสำาคัญในการตัดสินใจในการเลือกตั้ง นอกจากนั้นสิ่งที่พบในการลงพื้นที่

             สัมภาษณ์คือภาคกลับของกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง กล่าวคือบรรดากลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้
             สัมภาษณ์สามารถกล่อมเกลาบิดา-มารดาของตนให้หันมาตัดสินใจเลือกพรรคที่พวกเขาเห็นว่าจะเป็น

             อนาคตใหม่สำาหรับทางออกของสังคมไทย


                      สำาหรับพฤติกรรมของผู้ลงรับสมัครการเลือกตั้งจังหวัดสุรินทร์ นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี
             พ.ศ.2557 บรรดาอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกปิดเส้นทางการเมืองตามระบอบรัฐสภา ต่างกลับมา
             ยึดพื้นที่ตนเองอย่างเหนียวแน่น เพื่อให้เกิดความพร้อมในการเลือกตั้งในอนาคตด้วยการยึดครองใจคน

             และท้ายที่สุดนำาไปสู่การยึดครองพื้นที่ การทำางานในเชิงพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง

             เศรษฐกิจ เป็นส่วนสำาคัญที่หล่อเลี้ยงระบบอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นการอุปถัมภ์ที่ไม่ใช่การรอรับจากผู้อุปถัมภ์
             ในแบบเดิมๆ แต่เป็นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กับการสร้างสายสัมพันธ์ทางการเมือง


                      ขณะเดียวกันพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นนักการเมืองท้องถิ่นส่งผลต่อการแพ้ชนะ
             ในการเลือกตั้งครั้งนี้ของจังหวัดสุรินทร์ กล่าวคือนักการเมืองท่านนั้นสามารถยึดครองที่นั่งจากสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎรในสมัยที่แล้วมาได้ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเขตเลือกตั้งที่ 2 ที่นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์
             ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่น โดยก่อนลงรับสมัครเลือกตั้งเคยทำาหน้าที่ในฐานะที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเมือง

             สุรินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 จนก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาของเวียงรัฐ เนติโพธิ์
             (2558, 88) มีการพึ่งพาและเกื้อหนุนกันในการเลือกตั้งระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับนักการเมือง

             ท้องถิ่นในการสร้างสายสัมพันธ์แบบอาศัยซึ่งกันและกัน แตกต่างจากระบบหัวคะแนนเดิม ที่หัวคะแนน
             แบบเดิมคือกำานัน ผู้ใหญ่บ้านที่ความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองก่อนมีการรณรงค์เลือกตั้ง ขณะที่

             ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับนักการเมืองท้องถิ่นมีความต่อเนื่อง ก่อให้เกิดสายสัมพันธ์
             ในลักษณะเครือข่ายที่ชัดเจนมากขึ้น กล่าวคือหากนักการเมืองคนใดมีสายสัมพันธ์กับผู้บริหารองค์กร

             ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเลือกตั้งของตน เป็นหลักประกันได้ว่าจะได้รับคะแนนนำาในการเลือกตั้งครั้ง
             ต่อไป ดังนั้นการทำางานของนักการเมืองระดับชาติอย่างใกล้ชิดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นปัจจัย

             สำาคัญประการหนึ่งของพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองระดับชาติที่ปรากฏในจังหวัดสุรินทร์
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14