Page 10 - kpiebook63014
P. 10
9
(3) การเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน
และกลุ่มการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสุรินทร์ จาก
ข้อค้นพบ 2 ประการข้างต้น พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมทางการเมืองที่มีลักษณะเกิดระบบ
อุปถัมภ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จากระบบหัวคะแนนที่อาศัยกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำาที่ไม่เป็นทางการ
ในฐานะกลุ่มทุติยภูมิที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของคนในสังคมชนบทในอดีต แต่ด้วย
ความเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีที่ทำาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองได้ ระบบ
หัวคะแนนแบบเดิมจึงทำางานได้ไม่เหมือนเดิม เนื่องจากการเรียนรู้ของประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูล
ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและนำามาใช้ประกอบการตัดสินใจได้
แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการตัดสินใจเลือกตั้ง ดำารงอยู่บนปัจจัยสำาคัญ
ดังนี้
(1) พรรคการเมืองที่นักการเมืองสังกัด เนื่องจากระบบการเลือกตั้งในปี 2562 เป็นระบบที่
พรรคการเมืองต่างๆ ต้องวางกลยุทธ์ในการกระจายคะแนนให้กับระบบจัดสรรปันส่วน ที่เอื้อให้กับ
พรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก ดังนั้นบรรดาพรรคการเมืองใหญ่ เช่น พรรคเพื่อไทย ซึ่งนักการเมือง
ของพรรคสามารถกวาดเสียงที่นั่งในจังหวัดสุรินทร์ โดยที่พรรคตระหนักดีว่าจะไม่สามารถได้ปันส่วนที่นั่ง
ส.ส.มายังระบบบัญชีรายชื่อของพรรคได้ ดังนั้นจึงมีความพยายามสร้างพันธมิตรกับพรรคการเมือง
ขนาดกลางและเล็กที่มีแนวอุดมการณ์ทางการเมืองในทิศทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม จากข้อค้นพบที่ 1 กลยุทธ์ในการสร้างพันธมิตรไม่ได้ผลนักสำาหรับกรณีจังหวัด
สุรินทร์ จากปรากฏการณ์ “จ่าประสิทธิ์ ไชยศรีษะ” ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่หมดสิทธิ์ในการ
ลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากพ้นโทษคุกไม่ถึง 10 ปี ออกมาจัดตั้งพรรคใหม่ชื่อ พรรคเพื่อชาติ และได้ส่ง
ภรรยาและน้องสาวลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์เขต 1 และ เขต 6 โดยการเปลี่ยนชื่อ
ภรรยาและน้องสาว เป็น “ยิ่งลักษณ์ ไชยศรีษะ” และ “ยิ่งรัก ไชยศรีษะ” ตามลำาดับ แต่ไม่สามารถช่วงชิง
พื้นที่จาก ส.ส.เก่าได้
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 แสดงให้เห็นถึงความสำาคัญของพรรคการเมือง แม้ว่า
ผลการเลือกตั้งจะมี ส.ส.เจ้าของพื้นที่ครองตำาแหน่งไว้ได้ แต่ผลคะแนนที่ได้รับจากประชาชน 4 ลำาดับ
แรกในเกือบทุกเขตเลือกตั้งคือนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และ
พรรคอนาคตใหม่ ยกเว้นในเขตเลือกตั้งที่ 6 ที่มีพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนสูงสุด 4 ลำาดับ
แรกได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย และพรรคเพื่อชาติ เนื่องจากผู้สมัครจาก
พรรคอนาคตใหม่ในเขตเลือกตั้งนี้ถูกสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุรินทร์ประกาศ
“ไม่รับสมัคร” ไว้ ดังนั้นปัจจัยเรื่องพรรคการเมืองและนโยบายของพรรคจึงเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่า
การตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนจังหวัดสุรินทร์ เป็นการเลือกที่มียุทธศาสตร์ที่พิจารณาจากพรรคการเมือง
เป็นสำาคัญ ซึ่งอาจเป็นส่วนที่วิเคราะห์ได้ว่า ผู้คนในสังคมไทยมีองค์ประกอบหนึ่งของหนทางในการสร้าง