Page 14 - kpiebook63014
P. 14
13
ข้อเสนอแนะที่พบจากการศึกษาวิจัย มีดังนี้
(1) ในส่วนของระบบการเลือกตั้งที่มาจากการกำาหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 ที่นำาไปสู่ระบบบัตรเลือกตั้ง 1 บัตรที่สะท้อนที่นั่งของผู้แทนของประชาชนทั้งในระดับพื้นที่และ
บัญชีรายชื่อของพรรค เป็นส่วนที่จำากัดโอกาสในการเลือก “พรรคที่ใช่ คนที่ชอบ” เพราะปรากฏการณ์ของ
จังหวัดสุรินทร์พบว่ามีทั้งประชาชนที่ชอบผู้สมัคร แต่อาจไม่ชอบพรรคที่ผู้สมัครนั้นสังกัด หรือชอบพรรค
แต่ไม่รู้จักผู้สมัครในเขตเลือกตั้งตน แต่จำาต้องเลือกทั้งคนและพรรคไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นในเชิงข้อเสนอ
จึงควรกลับไปพิจารณาประเด็นนี้ในการออกแบบระบบเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งจะเชื่อมโยง
ไปสู่ประเด็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กลายเป็นส่วนสำาคัญในการปรับเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง
(2) ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัด
สุรินทร์ให้มีความชัดเจนว่า รูปแบบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมีพลวัตภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่อย่างไรบ้าง
แตกต่างจากระบบเดิมหรือไม่ ซึ่งการศึกษาสายสัมพันธ์ที่ชัดเจนจะทำาให้สามารถคาดการณ์การเลือกตั้ง
ท้องถิ่นที่ถูกคาดหมายว่าจะมีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเกิดขึ้นต่อจากการเลือกตั้งระดับชาติในครั้งนี้ และ
(3) ในส่วนของการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในระบบการเลือกตั้ง ควรหันกลับมาพิจารณา
ประเด็นระเบียบการกำาหนดค่าใช้จ่าย รูปแบบ วิธีการและทรัพยากรในการหาเสียงที่จำากัด เพื่อลด
อุปสรรคในการรณรงค์หาเสียง