Page 125 - kpiebook63013
P. 125
125
การเลือกตั้งครั้งนี้ทำาให้ความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองลดลงได้ โดยมีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เป็นตัวแปรสำาคัญในการที่จะทำาให้ความขัดแย้งเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ โดยผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านให้ความเห็นว่า
คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีส่วนในการทำาให้ความขัดแย้งลดลง “ลดลง เพราะคสช.วางรูปแบบไว้ดีแล้ว”
แต่บางท่านกลับมองว่าความขัดแย้งจะลดลงถ้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติถอยตัวเองออกไปจากพื้นที่
การเมือง “ลดลง ถ้า คสช. ยอมปล่อย แต่หากยังพยายามสืบทอดอำานาจจะเกิดความวุ่นวายอีก” “ลดลง
ถ้าทหารเลิกยุ่งกับการเมือง แต่ละฝ่ายเลิกดึงสถาบันมาเกี่ยวกับการเมืองก็อาจจะไม่มีความขัดแย้ง”
สำาหรับผลการเลือกตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่พรรคประชาธิปัตย์สามารถกุมชัยชนะได้ในทุกเขต
เลือกตั้ง และที่สำาคัญคือสามารถชนะพรรครวมพลังประชาชาติไทยที่มี คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำา
ผู้ให้สัมภาษณ์ให้เหตุผลที่ต่างกันออกไป เช่น “คนเมื่อก่อนชอบพรรคประชาธิปัตย์มากตั้งแต่ยุคนายชวน”
“คนแก่ ๆ ชอบเยอะ เขายังจำาภาพประชาธิปัตย์ในปีเก่าที่ดีอยู่” “สุราษฎร์เป็นฐานเสียงประชาธิปัตย์มาแต่ไหนแต่ไร
ได้อะไร ๆ จากประชาธิปัตย์ยุคนายชวนเยอะ” “ฐานเสียงเก่า ๆ เยอะ” แต่สำาหรับในภาพรวมของทั้งประเทศ
พรรคประชาธิปัตย์ได้จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรน้อยลง ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นว่าเป็นเพราะ
“มีคู่แข่งเยอะ คนรุ่นใหม่เลือกอนาคตใหม่กันหมด” “เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยเลือก” “ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะ
ความไม่ชัดเจนในเรื่องจุดยืนและการประกาศจุดยืนของหัวหน้าพรรค ทำาให้ทั้งฝั่งที่ไม่สนับสนุนและฝ่ายที่สนับสนุน
ไม่เลือก” ส่วนนโยบายที่ประชาชนต้องการจากรัฐบาลมากที่สุดคือค่าจ้างและราคาผลิตผลการเกษตร โดยเฉพาะ
ราคายางพาราและราคาปาล์มนำ้ามัน
จากข้อมูลข้างต้นทั้งหมด พบว่าพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สอดคล้องกับแนวคิดของสำานักจิตวิทยาสังคม โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาสังคมที่เห็นได้ชัดเจนคือ
ความโน้มเอียงในพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง (partiality) เช่น การให้ความสำาคัญกับความเก่าแก่และ
การมีชื่อเสียงของพรรคการเมือง ความผูกพันกับพรรคการเมืองมาอย่างยาวนาน ความชื่นชอบในตัวผู้สมัคร
บางคนมาก่อน ฯลฯ การตัดสินใจลงคะแนนของประชาชนจึงไม่ได้พิจารณาไปที่ตัวบุคคลแต่เพียงเท่านั้น แต่จะ
ต้องมองไปถึงพรรคการเมืองที่บุคคลนั้นสังกัดด้วย การให้เงินหรือการใช้สิ่งจูงใจต่าง ๆ เพื่อที่จะโน้มน้าวให้ลง
คะแนนเสียงให้กับพรรคการเมืองอื่นที่ตัวเขาไม่นิยมอยู่ก่อนจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ได้ว่า
ความโน้มเอียงดังกล่าวมีความเข้มข้นจนกลายเป็นความรู้สึกผูกพันกับพรรคการเมืองบางพรรคไปแล้ว ดังที่พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ทำาการตัดสินใจล่วงหน้ามานานแล้วว่าต้องการจะลงคะแนนเสียง
ให้ใครและการตัดสินใจดังกล่าวนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเลยนับตั้งแต่วันที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็น
ถึงความแนบแน่นของความรู้สึกผูกพันต่อพรรคการเมืองบางพรรคเป็นอย่างมาก
ดังนั้น จึงพอที่จะสรุปผลการวิเคราะห์ได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของ
ประชาชนในทุกเขตเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้นเป็นปัจจัยภายในมากกว่าปัจจัยภายนอก พูดอีกอย่าง
ได้ว่า การตัดสินใจของประชาชนตั้งอยู่บนฐานการพิจารณาด้วยตัวของเขาเองมากกว่าถูกกำาหนดโดยตำาแหน่ง
แห่งที่ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ตัวเขาสังกัดอยู่ โดยมีลักษณะที่ปรากฏชัดเจนคือเป็นการพิจารณาตัดสินใจของ
แต่ละคนไม่ได้อยู่บนหลักการตัดสินใจแบบเชิงเหตุผล (Rational Model) แต่เป็นการตัดสินใจที่มี “ความโน้ม
เอียง” (partiality) บางอย่าง นั่นคือ ความผูกพันในพรรคการเมือง