Page 123 - kpiebook63013
P. 123

123








                  ต้องการชูตระกูล” “มีผล เป็นญาติก็ต้องเลือกญาติ” เป็นต้น เช่นเดียวกับการที่ผู้สมัครเคยรับข้าราชการใน

                  พื้นที่มาก่อน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่ามีผลต่อการตัดสินใจ เพราะการเป็นข้าราชการ
                  และเคยทำางานอยู่ในพื้นที่แสดงให้เห็นถึงการมีประสบการณ์การทำางานมาก่อน แต่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกส่วนหนึ่ง

                  (40 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าหากผู้สมัครคนนั้นไม่มีผลงานช่วยเหลือประชาชนหรือคลุกคลีกับประชาชน
                  การเคยทำางานในพื้นที่ก็ไม่ได้ช่วยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงให้ ส่วนความเป็นเพื่อนนั้นไม่ได้มีอิทธิพลเท่ากับ

                  ความเป็นญาติและการเคยรับราชการในพื้นที่ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าความเป็นเพื่อน
                  ไม่ได้มีผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแต่อย่างใด


                          นอกจากเหนือจากความเป็นญาติพี่น้องและการเคยรับราชการในพื้นที่มาก่อนแล้ว ปัจจัยที่มีอิทธิพล

                  ต่อการการตัดสินใจลงคะแนนเสียงก็คือ วุฒิการศึกษา อายุ และพรรคที่ผู้สมัครสังกัด กล่าวคือ ผู้ให้สัมภาษณ์
                  ทุกคน (100 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าวุฒิการศึกษาเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนความรู้และความสามารถของผู้สมัครได้

                  “จบสูงมีความเก่งมากกว่าคนจบไม่สูง” “มีผล เพราะเราจะรู้ได้ว่าคน ๆ นั้นมีคุณภาพแค่ไหน” “เพราะเป็น
                  สิ่งเดียวที่เราสามารถเห็นได้ว่าเขาเก่งหรือเปล่า” ซึ่งสำาหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้มีการกำาหนดวุฒิการศึกษา

                  ขั้นตำ่าไว้ ด้วยเหตุผลที่จะเปิดกว้างและให้โอกาสกับผู้สนใจทุกคนอย่างเท่าเทียม แต่จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้
                  เห็นว่าประชาชนยังคงพิจารณาวุฒิการศึกษาเป็นสำาคัญ และทำาให้การเป็นตัวแทนทางการเมืองเป็นเรื่องของ

                  คนที่มีวุฒิการศึกษาระดับสูง

                          ในเรื่องของอายุของผู้สมัคร ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ

                  โดยผู้สมัครที่มีอายุมากจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกมากกว่าผู้สมัครอายุน้อย เนื่องจากแสดงให้เห็นถึง

                  ประสบการณ์ที่มีมากกว่า “ประสบการณ์มากับอายุ นับเป็นเรื่องที่ดี อายุน้อยจะอ่อนประสบการณ์” “อายุเยอะ
                  ประสบการณ์สูง ของแบบนี้ต้องใช้ประสบการณ์ในการทำางาน” ขณะที่ผู้ในสัมภาษณ์ส่วนน้อยเท่านั้นที่เห็นว่า
                  อายุไม่มีผลต่อการตัดสินใจ “ตอนนี้ไม่ค่อยมีผล เพราะคนรุ่นใหม่เก่ง ๆ เยอะ” “ไม่มีผล อายุไม่สามารถ

                  วัดอะไรได้”


                          เช่นเดียวกับพรรคการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน (100 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าพรรคการเมืองเป็นปัจจัย

                  สำาคัญที่ทำาให้ตัดสินใจในการเลือกผู้สมัคร โดยให้ความเห็นว่า “ส่งผลที่สุด ไม่ว่าจะเลือกใครก็ต้องดูที่พรรคการเมือง
                  เป็นหลัก” “มีผล เพราะพรรคก็ต้องเลือกที่ตัวผู้สมัคร” “มีผล ถ้าจะเลือกพรรคในดวงใจก็จะเลือกคนของพรรค”
                  เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลก่อนการเลือกตั้งที่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) ให้ความสำาคัญกับ

                  พรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคลอย่างเห็นได้ชัด โดยให้เหตุผลว่า “เพราะนโยบายและอุดมการณ์ได้มาจากพรรค”

                  “เลือกพรรค ดูนโยบายพรรค” “เลือกพรรคเพราะพรรคเป็นภาพรวมระดับประเทศ” เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า
                  เป็นการให้การยอมรับ เชื่อมั่น และให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองอย่างมาก


                           สำาหรับอาชีพ ผู้ให้สัมภาษณ์ (60 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าอาชีพไม่มีผลต่อการตัดสินใจ โดยมองว่า
                  “ต่อให้อาชีพดี แต่ไม่รู้ได้ว่าจะเป็นคนยังไง เก่งไหม” “ไม่มีผล การเป็นผู้แทนต้องเป็นคนที่สุจริต” “ไม่มีผล

                  อาชีพอะไรก็ไม่เกี่ยว เป็นได้หมด” “ไม่มีผล ไม่ว่ากรรมกร แรงงาน คนรวยก็สามาถเป็นได้ ในสภาจะได้มี
                  คนหลากหลาย เป็นเรื่องที่ดี” ดังนั้น จะเห็นว่าในสายตาของประชาชน อาชีพไม่ได้แสดงให้เห็นว่าผู้สมัครคนนั้นจะ
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128