Page 119 - kpiebook63013
P. 119

119








                  ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก โดยมองว่าการช่วยเงินในงาน

                  ต่าง ๆ ไม่เกี่ยวข้องและเป็นคนละเรื่องกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง “เราอาจนับถือคนนั้น มองเขาว่าใจบุญ
                  เพราะเขาเองที่ต้องการจะทำาบุญ เราไม่เห็นต้องไปเกรงใจ” “ผู้สมัครต้องการทำาบุญ ไม่ถึงกับต้องตอบแทน

                  บุญคุณหรือต้องไปเกรงใจเขา” ขณะที่มีผู้ให้สัมภาษณ์เพียงหนึ่งคนแสดงทัศนะว่าการนำาเงินมาช่วยเหลืองาน
                  สำาคัญนั้นจะมีผลก็ต่อเมื่อคนที่ช่วยเหลือนั้น “เป็นคนที่คุ้นเคยกัน” ดังนั้น จึงพอจะกล่าวได้ว่าการช่วยเหลือ

                  โดยการให้เงินในงานสำาคัญต่าง ๆ แทบจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนแต่อย่างใด สิ่งที่น่าสนใจคือ
                  การให้เงินกับผู้ลงคะแนนเสียงโดยตรงทำาให้เกิดทัศนคติในแง่ลบต่อตัวผู้สมัครคนนั้นค่อนข้างมาก แต่การที่

                  ผู้สมัครให้เงินไปให้กับผู้ลงคะแนนเสียงผ่านการใส่ซองช่วยงานต่าง ๆ ไม่ได้ทำาให้เกิดทัศนคติในแง่ลบต่อ
                  ตัวผู้สมัครมากนัก แต่ก็ไม่ได้ทำาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับเขาเช่นกัน


                          สำาหรับคำาถามที่ว่าการช่วยเหลือหรือให้ประโยชน์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงิน เช่น การช่วยคนในครอบครัว

                  ส่งผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ตอบว่าไม่มีผล โดยเฉพาะถ้าไม่ใช่คนที่ชอบ
                  อยู่ก่อนแล้ว แต่ถ้าเป็นคนที่เราชอบก็อาจจะมีผลเพราะมีความตั้งใจจะเลือกผู้สมัครท่านนั้นอยู่แล้ว ส่วนการเข้ามา

                  ร่วมกิจกรรมกับคนในชุมชน เข่น เป็นประธานเปิดงาน ก็ไม่มีผลแต่อย่างใดและบางคนบอกว่า “ไม่ได้รู้สึกอะไรเลย
                  เพราะมันเป็นหน้าที่ หรือที่เขามาก็เพราะมีคนเชิญ” อย่างไรก็ตาม มีผู้ให้สัมภาษณ์ครึ่งหนึ่ง (50 เปอร์เซ็นต์)

                  เห็นว่าการเข้าร่วมงานของชุมชนอาจมีผลหากผู้สมัครคนนั้นเข้าร่วมงานบ่อยครั้งหรือพบเห็นได้ตลอด ซึ่งจาก
                  ข้อมูลก่อนการเลือกตั้งก็แสดงให้เห็นชัดเจนอยู่แล้วว่าในเขตเลือกตั้งที่ 5 นี้ไม่ปรากฏการใช้วิธีการจูงใจรูปแบบ

                  ดังกล่าวมากนัก โดยผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) ให้ข้อมูลว่าไม่พบการใช้อิทธิพลหรือผลประโยชน์
                  หรือการกระทำาอื่นใด (ที่ไม่ใช่ตัวเงิน) เพื่อจูงใจให้เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง


                          ดังนั้น สำาหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 5 การใช้เงินไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจึงไม่ได้เป็น
                  ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นเรื่องของความสนิทสนม ความภักดี และการแสดงออก

                  ซึ่งคุณธรรม มากกว่า และเมื่อได้สอบถามถึงปัจจัยเรื่องคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัครก็พบว่าเป็นปัจจัยที่มี

                  อิทธิพลต่อการตัดสินใจมากกว่าการใช้เงิน โดยปัจจัยที่สำาคัญ ได้แก่ ความเป็นญาติพี่น้องกัน ผู้ให้สัมภาษณ์บางคน
                  กล่าวว่า “ต้องเลือกญาติอยู่แล้ว” “ถ้าญาติลงสมัครก็ตัดสินใจได้ง่าย” เป็นต้น ในขณะที่ความเป็นเพื่อนนั้น
                  ไม่ได้มีอิทธิพลเท่ากับความเป็นญาติ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าความเป็นเพื่อนไม่ได้มีผล

                  ต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแต่อย่างใด เช่นเดียวกับการเคยเป็นข้าราชการในพื้นที่มาก่อน หากผู้สมัคร

                  คนนั้นไม่มีผลงานช่วยเหลือประชาชนหรือคลุกคลีกับประชาชน การเคยทำางานในพื้นที่ก็ไม่ได้ช่วยให้ผู้มีสิทธิ
                  เลือกตั้งออกเสียงให้กับผู้สมัคร


                          นอกจากความเป็นญาติพี่น้องแล้ว ปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกก็คือวุฒิการศึกษา
                  อาชีพ และพรรคที่ผู้สมัครสังกัด กล่าวคือ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าวุฒิการศึกษาเป็นสิ่งที่

                  สามารถสะท้อนความรู้และความสามารถของผู้สมัครได้ บางคนกล่าวว่าวุฒิการศึกษาแสดงถึง “ความเป็นผู้นำา”

                  ซึ่งสำาหรับการเลือกตั้งครั้งนี้แม้ไม่ได้มีการกำาหนดวุฒิการศึกษาขั้นตำ่าไว้ ด้วยเหตุผลที่จะเปิดกว้างและให้โอกาส
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124