Page 120 - kpiebook63013
P. 120
120 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กับผู้สนใจทุกคนอย่างเท่าเทียม แต่จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังคงพิจารณาวุฒิการศึกษา
เป็นสำาคัญ และทำาให้การเมืองเป็นเรื่องของคนที่มีความรู้
สำาหรับอาชีพ ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นว่าเป็นปัจจัยที่สร้างความเชื่อมั่นในการเลือก ผู้ให้สัมภาษณ์
ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าอาชีพบางอาชีพไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการเลือกคนที่ประกอบอาชีพ
ที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารไปทำาหน้าที่เป็นผู้แทนราษฎรย่อมไม่เป็นผลดี “พวกรับจ้าง เกษตรกร ไม่เกี่ยวกับ
การบริหารเลย” “พวกทำาสวนไม่เกี่ยวกับเรื่องบริหาร ไม่เชื่อมั่น” การใช้กลุ่มอาชีพเป็นเกณฑ์สำาคัญในการลงคะแน
นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 5 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทำาอาชีพเกษตรกร ไม่ได้เลือกผู้ที่เป็นตัวแทน
กลุ่มของตัวเองไปทำาหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร แต่มีแนวโน้มจะเลือกคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่องการบริหารโดยตรงมากกว่า
เช่นเดียวกับพรรคการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าเป็นปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้
ตัดสินใจในการเลือกผู้สมัคร ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลก่อนการเลือกตั้งที่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้ความสำาคัญ
กับพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคลอย่างเห็นได้ชัด โดยให้เหตุผลว่า “พรรคการเมืองมีนโยบายในการหาเสียง”
“มีความมั่นใจในพรรคการเมือง” “พรรคการเมืองมีผลงาน” และ “หัวหน้าพรรคการเมืองมีบทบาทมาก”
แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในระดับหนึ่ง
2 ทัศนคติของผู้เลือกตั้งต่อพฤติกรรมการทุจริตเลือกตั้ง
ต่อคำาถามที่ว่า ถ้าในอนาคตท่านพบเห็นการทุจริตการเลือกตั้ง ท่านจะคิดและดำาเนินการอย่างไร
ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าสิ่งที่ทำาได้คือไม่ยอมรับการทุจริตและจะไม่ลงคะแนนให้กับ
ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่ทำาการทุจริตเลือกตั้ง แต่จะไม่ไปแจ้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เช่น ตำารวจ ทหาร กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่นำาเรื่องทุจริตไปแจ้งสื่อมวลชน ไม่บอกเล่าเรื่องนี้ให้คนใกล้ชิดฟัง และ
ไม่โพสต์เรื่องราวที่ตนพบเจอ โดยให้แหตุผลว่า “ไม่ยอมรับ แต่ไม่กล้าไปฟ้อง ไปโพสต์ เพราะอาจเป็นภัยเกิด
ผลกระทบกับตัวเองได้” “ไปบอกคนอื่นก็เท่านั้น เราบังคับใครไม่ได้” “เราเป็นแค่ประชาชนที่ไม่มีอำานาจมากพอ
จึงทำาได้แค่เก็บไว้กับตนเอง” “เราไม่มีความสามารถมากพอที่จะไปแจ้งฝ่ายไหนที่เกี่ยวข้องเพราะเราไม่รู้เบื้องหลัง
ว่าเป็นมายังไง” “เป็นเรื่องที่พูดได้ยากกับสมัยปัจจุบัน ถ้าเกิดทำาอะไรที่โจ่งแจ้งไปก็อาจทำาให้ตนเดือดร้อนได้”
จากคำาตอบที่ยกมาแสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่ยอมรับการทุจริตการเลือกตั้ง แต่การจะให้ประชาชนช่วยจับตา
หรือมีส่วนร่วมในการรายงานการทุจริตอาจจะไม่ประสบผลสำาเร็จมากนัก เนื่องจากประชาชนรู้สึกตัวเองว่า
ยังไม่อยู่ในสถานะที่จะทำาเรื่องนั้นได้และอาจส่งผลกระทบต่อตัวเอง
3 ทัศนคติของผู้เลือกตั้งต่อผลการเลือกตั้ง
จากข้อมูลก่อนการเลือกตั้ง ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนเชื่อมั่นในการทำาหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ในเขตเลือกตั้ง ทั้งในแง่ของการวางตัวเป็นกลาง การรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ แต่หลังจากเลือกตั้งแล้ว
ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน ไม่มีความเชื่อมั่นในผลการนับคะแนน โดยแสดงความเห็นว่า “เพราะคะแนนไม่นิ่ง