Page 124 - kpiebook63013
P. 124
124 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เป็นคนดีหรือคนเก่ง อนึ่ง การไม่ใช้กลุ่มอาชีพเป็นเกณฑ์สำาคัญในการลงคะแนนสะท้อนให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในเขตเลือกตั้งที่ 6 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีอาชีพเกษตรกร เปิดโอกาสให้ผู้สมัครจากอาชีพที่หลากหลายสามารถเข้าไปทำา
หน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจะผูกขาดไว้เฉพาะบางอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหรือการปกครองเท่านั้น
2 ทัศนคติของผู้เลือกตั้งต่อพฤติกรรมการทุจริตเลือกตั้ง
ต่อคำาถามที่ว่า ถ้าในอนาคตท่านพบเห็นการทุจริตการเลือกตั้ง ท่านจะคิดและดำาเนินการอย่างไร
ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนระบุตรงกันว่าไม่ยอมรับการทุจริต โดยทั้งหมดตอบว่าจะไม่ทนต่อเรื่องดังกล่าวและจะต้อง
กระทำาการบางอย่างเพื่อให้คนใกล้ชิดหรือสาธารณะรับทราบ รวมถึงอาจจะต้องทำาอะไรบางอย่างเพื่อให้
คนที่ทุจริตถูกลงโทษ เช่น “ไม่ยอมรับ แล้วแจ้งข้อมูลให้คณะกรรมการเลือกตั้งรับทราบ เพราะไม่อาจยอมรับต่อ
ความไม่เป็นธรรมได้” “ถ้าเจอต้องแจ้ง กกต. ทันที เรื่องปัญหาการทุจริตเป็นปัญหาใหญ่ต้องจัดการเด็ดขาด”
“ถ้าสามารถแจ้งได้ก็จะแจ้ง” หรือหากไม่แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งก็จะบอกคนใกล้ชิดให้รับทราบ
เรื่องทุจริต “เป็นเรื่องง่ายที่สุด คือต้องบอกคนใกล้ชิดไม่ให้เลือก” “เป็นสิ่งที่พอจะทำาได้ คือบอกคนใกล้ชิด”
“เป็นวิธีที่ปลอดภัยกับตัวเราที่สุดและได้ผลดีเช่นกัน” (แต่น่าสังเกตว่าประชาชนจะไม่ไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เช่น ตำารวจ ทหาร กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่นำาเรื่องทุจริตไปแจ้งสื่อมวลชน และไม่โพสต์เรื่องราวที่ตนพบเจอ)
จากคำาตอบข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนในเขตเลือกตั้งนี้ไม่ยอมรับการทุจริตการเลือกตั้งและต้องการ
แสดงออกถึงการปฏิเสธอย่างชัดเจน การรณรงค์ให้ประชาชนช่วยจับตาหรือมีส่วนร่วมในการรายงานการทุจริต
จึงมีแนวโน้มที่จะประสบผลสำาเร็จ เนื่องจากประชาชนมีความรู้สึกว่าการทุจริตเป็นสิ่งที่ไม่อาจวางเฉยหรือ
ปล่อยปัญหาให้เกิดขึ้น
3 ทัศนคติของผู้เลือกตั้งต่อผลการเลือกตั้ง
จากข้อมูลก่อนการเลือกตั้ง ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนเชื่อมั่นในการทำาหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ในเขตเลือกตั้ง ทั้งในแง่ของการวางตัวเป็นกลาง การรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ แต่หลังจากเลือกตั้งแล้ว
ผู้ให้สัมภาษณ์จำานวนครึ่งหนึ่ง ไม่มีความเชื่อมั่นในผลการนับคะแนน โดยแสดงความเห็นว่า “มันมีความไม่ชอบมา
พากลมากมายในการนับคะแนน อาจจะเป็นการทุจริต ความไม่โปร่งใสหรือแค่การทำางานชุ่ย ๆ ก็ไม่อาจรู้ได้”
“เชื่อว่ามีความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้ง” “การทำางานดูไม่เป็นมืออาชีพ ตอบคำาถามได้ห่วย แก้ตัวนำ้าขุ่น ๆ”
ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นสะท้อนว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นในการทำางานของคณะกรรมการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น
แต่ไม่เชื่อมั่นในผลคะแนนที่ประกาศโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกครึ่งหนึ่ง
กลับมีความไว้วางใจและเชื่อมั่นต่อผลการเลือกตั้งและผลการนับคะแนน โดยความเชื่อมั่นดังกล่าวเกิดจาก
ตัวบุคคลคือคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีสถานะเป็นองค์กรอิสระและได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ “เชื่อมั่น เพราะถูกคัดมาอย่างดีโดยคสช.” “เชื่อมั่น เพราะ กกต.คือองค์กรอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร” “เชื่อมั่น
กกต.ถูกคัดมาแล้วอย่างดีโดย คสช.”
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนกลับแสดงทัศนะว่าผู้สมัครและพรรคที่แพ้ควรยอมรับผลการเลือกตั้ง
โดยไม่ควรที่จะต่อต้าน ซึ่งอาจมองได้ว่าประชาชนไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายในทางการเมืองและต้องการ
ให้ทุกอย่างจบลงโดยการที่ทุกฝ่ายยอมรับในผลการตัดสิน โดยผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่า