Page 129 - kpiebook63013
P. 129
129
ควำมเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของผู้สมัคร
การเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีครั้งนี้ ผู้สมัครของแต่ละพรรคยังคงใช้วิธีการหาเสียงใน
รูปแบบเดิม ตัวอย่างเช่น รถแห่ โปสเตอร์ การปราศรัย แผ่นพับ ฯลฯ แต่สิ่งที่แปลกใหม่คือผู้ให้ข้อมูลใน
ทุกเขตเลือกตั้งกล่าวตรงกันว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งจำานวนมากได้ใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร social media
มาช่วยในการหาเสียง ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จากการสัมภาษณ์พบว่ามีการเผยแพร่
คลิปวิดีโอบางคลิปโดยเป็นการจงใจเผยแพร่ในช่วงเวลาที่ใกล้กับวันเลือกตั้งเพื่อหวังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
และค่อนข้างจะได้ผลตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม แม้การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการรณรงค์หาเสียงหรือสื่อสาร
จากผู้สมัครไปยังประชาชนผ่านทางแอพลิเคชั่นต่าง ๆ แต่ก็พบว่าในทุกพื้นที่ตัวผู้สมัครเองก็ยังคงให้ความสำาคัญ
กับการลงพื้นที่พบปะกับประชาชนโดยตรงและจากการสัมภาษณ์ในทุกเขตเลือกตั้งพบว่าการเลือกตั้งครั้งนี้
ตัวผู้สมัครมีการลงพื้นที่บ่อยครั้งมากกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน ๆ อีกด้วย
สำาหรับการหาเสียงโดยใช้เวทีในการปราศรัยใหญ่ของแต่ละพรรคมีข้อที่น่าสังเกตดังนี้ ประการแรก
พรรคที่จัดเวทีปราศรัยใหญ่ในพื้นที่สำาคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เช่น อำาเภอเกาะสมุย อำาเภอเมือง
อำาเภอท่าฉาง มีจำานวนไม่มากนัก ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคอนาคตใหม่
พรรคพลังท้องถิ่นไทย ซึ่งอาจจะมองได้ว่าหลายพรรคการเมืองพอจะทราบว่าการแข่งขันเอาชนะเพื่อจะได้เป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเป็นเรื่องยาก จึงเพียงแค่หวังจะเก็บคะแนนสำาหรับบัญชีรายชื่อเพียงเท่านั้น
ประการที่สอง การปราศรัยใหญ่ของพรรคการเมืองข้างต้น ไม่ได้มีการโจมตีผู้สมัครในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ของพรรคอื่นแต่อย่างใด แต่จะโจมตีไปที่พรรคการเมือง หัวหน้าพรรคการเมือง นโยบายที่ใช้หาเสียงของพรรค
หรือ ท่าทีทางการเมืองของหัวหน้าพรรค ตัวอย่างเช่น คุณสุเทพ ได้กล่าวโจมตีหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ในกรณีที่คุณอภิสิทธิ์ประกาศไม่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี หรือ คุณอภิสิทธิ์ได้กล่าว
ว่าพรรคพลังประชารัฐได้ลอกเลียนแบบนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ หรือ คุณธนาธร พรรคอนาคตใหม่
ได้กล่าวโจมตีการสืบทอดอำานาจของคณะคสช.และการรัฐประหาร เป็นต้น แต่จะไม่มีการโจมตีตัวผู้สมัครใน
พื้นที่หรือในเขตเลือกตั้งของจังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วยกันเอง แม้แต่การจัดประชันวิสัยทัศน์และนโยบายของ
ผู้สมัครแต่ละพรรค (debate) ก็มีเพียงไม่กี่ครั้ง ดังนั้น จึงจะเห็นภาพชัดเจนว่าผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในพื้นที่
สุราษฎร์ธานีนั้นพยายามที่จะหลีกเลี่ยงและไม่ปะทะกันโดยตรง
บทบำทของหน่วยงำนภำครัฐ เอกชน องค์กรสำธำรณะ
จากการลงพื้นที่และการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าในทุกเขตเลือกตั้ง
เจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งวางตัวเป็นกลางและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี
จากข้อมูลของผู้อำานวยการสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าทางหน่วยงาน
ได้มีการเตรียมการตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการทำาความเข้าใจในเรื่องข้อกฎหมายกับเจ้าหน้าที่รัฐ