Page 134 - kpiebook63013
P. 134
134 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประการที่ 2 ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัย คือ
1. การศึกษาพลวัตของพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนและนักการเมืองในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งการเลือกตั้งในระดับชาติและการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการทำาความเข้าใจ
ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างนักการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ ทั้งในเชิงตัวบท เช่น การศึกษาวิธีการหาเสียง
เลือกตั้ง นโยบายของพรรคการเมืองที่มีผลต่อการเลือกตั้ง กระบวนการจัดการเลือกตั้ง หน่วยงานที่จัดการเลือกตั้ง
เป็นต้น และในเชิงบริบท เช่น การศึกษามิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่มีผลต่อพฤติกรรม
การเลือกตั้ง เป็นต้น
2. การศึกษาเรื่องโอกาสและอุปสรรคของผู้ลงสมัครรับการเลือกตั้งหน้าใหม่ และพรรคการเมือง
พรรคใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาและได้ส่งผู้ลงสมัครรับการเลือกตั้งในพื้นที่ว่าในการเลือกตั้งคราวต่อไปจะมีแนวโน้ม
ของโอกาสหรือการจะเกิดมีอุปสรรคในการได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในลักษณะอย่างไรในอนาคต
3. การศึกษาเรื่องผลจากการที่ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองที่ผู้ลงสมัครรับการเลือกตั้ง
สังกัดมีการประกาศจุดยืนในทางการเมืองที่แน่ชัดว่าให้การสนับสนุนคู่ขัดแย้งทางการเมืองในระดับชาติ
ที่มีอยู่แล้วในฟากฝั่งใดจะก่อให้เกิดผลอย่างไรต่อการลงสนามเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่จะมีต่อไป
ในอนาคตข้างหน้า