Page 131 - kpiebook63013
P. 131
131
การตัดสินใจเลือก ในขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 3 และเขตเลือกตั้งที่ 4 ผู้ให้สัมภาษณ์จำานวนครึ่งหนึ่งระบุว่า
การอุปถัมภ์ช่วยเหลือของผู้สมัครส่งผลต่อการลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครท่านนั้น ส่วนในเขตเลือกตั้งที่ 5 พบว่า
ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าหากได้รับการอุปถัมภ์จากผู้สมัครท่านใดก็จะเลือกผู้สมัครท่านนั้นเนื่องจาก
เป็นการตอบแทนบุญคุณ จึงพอจะกล่าวได้ว่า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ยังคงมีส่วน
ในการทำาให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียง แต่ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ ทั้งนี้อาจจะเป็น
เพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ส่งผลต่อทัศนคติของประชาชน การเรียนหนังสือ การเข้าทำางาน การเติบโตใน
หน้าที่การงาน ของคนรุ่นใหม่อาจจะไม่ได้พึ่งพานักการเมืองหรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมากเท่ากับคนในรุ่นก่อน
(การไปเรียนหนังสือหรือทำางานหรือการทำาธุรกิจในต่างถิ่นที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตนเองย่อมทำาให้อิทธิพลของ
นักการเมืองที่ใช้วิธีการจูงใจรูปแบบนี้เสื่อมไปโดยปริยาย) อีกทั้งคนรุ่นใหม่อาจรู้สึกว่าความก้าวหน้าในชีวิตของ
ตนนั้นเป็นผลมาจากความพยายามหรือความสามารถของตัวเองมากกว่าจะเป็นเพราะผู้อื่นอุปถัมภ์ช่วยเหลือ
กำรใช้ทรัพยำกร กำรใช้เงิน ในกำรหำเสียงเลือกตั้ง
สำาหรับพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้เงินเพื่อการหาเสียง กล่าวคือ
นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันการใช้เงินเพื่อการได้มาซึ่งคะแนนเสียงนั้นมีไม่มากนัก ในงานเรื่อง นักการเมืองถิ่น
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ตั้งข้อสังเกตว่า นักการเมืองในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีกลวิธีการหาเสียงที่ไม่แตกต่างกัน
และไม่ค่อยใช้เงินในช่วงเวลาของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง วิธีการหาเสียงที่นิยมอย่างมากคือการลงพื้นที่
พบปะประชาชนในลักษณะการเคาะประตูบ้าน การร่วมกิจกรรมทางสังคม นักการเมืองจะใช้โอกาสทั้งที่
เป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนบุคคลในการเปิดตัวและแสดงตัวต่อสาธารณชนหรือการทำาให้เจ้าภาพรู้สึกเป็น
เกียรติและทำาให้งานเกิดความสำาคัญมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้ก็ยังคงปรากฏอยู่ในการเลือกตั้ง
ปี พ.ศ.2562 ไม่มีผู้ให้สัมภาษณ์คนใดให้ข้อมูลว่าได้รับเงินจากผู้สมัครหรือหัวคะแนน แต่จะพบเห็นผู้สมัคร
ไปร่วมงานสำาคัญหรืองานสังคมมากกว่า
นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนทั้ง 6 เขตเลือกตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทัศนคติเชิงลบต่อ
การใช้จ่ายเงินในการซื้อเสียงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนใหญ่เห็นว่าการเริ่มต้นด้วยการทุจริตย่อมจะคาดการณ์ได้ว่า
ผู้สมัครคนนั้นจะต้องทุจริตต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน โดยผู้ให้สัมภาษณ์บอกว่าหากเจอสถานการณ์ดังกล่าว
จะไม่รับเงินจากหัวคะแนนหรือผู้สมัครอย่างเด็ดขาด และทุกคนเห็นตรงกันว่าการใช้เงินจูงใจเพื่อให้
ลงคะแนนเสียงนั้นไม่มีผลต่อการตัดสินใจของตนอย่างแน่นอน ซึ่งการมีทัศนคติปฏิเสธเรื่องการรับเงินหรือ
การไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมการใช้เงินของผู้สมัครเพื่อผลประโยชน์ในการเลือกตั้งในสถานการณ์ที่ราคาสินค้า
เกษตร (ยางพารา ปาล์มนำ้ามัน) ตกตำ่าแสดงให้เห็นถึงลักษณะบางอย่างของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
นั่นคือยังคงแยกระหว่างเรื่องปากท้องของตนเองกับเรื่องสาธารณะออกจากกัน (ไม่เอาผลประโยชน์เฉพาะหน้า
ของตนแลกกับความเสียหายของประเทศที่จะเกิดขึ้น) และยังมีค่านิยมว่าการเมืองนั้นควรจะดำาเนินไปอย่าง
มีคุณธรรมและ “คนดี” ควรจะได้เข้าไปบริหารประเทศ