Page 132 - kpiebook63013
P. 132
132 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กำรเปลี่ยนพรรค กำรเปลี่ยนขั้ว ปัจจัยที่ใช้ในกำรตัดสินใจเลือก
ส่วนการย้ายพรรคการเมืองของผู้สมัครที่เคยสังกัดพรรคการเมืองอื่นมาก่อน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
ของทุกเขตเลือกตั้งเห็นว่าการย้ายพรรคเป็นเรื่องปกติและอาจจะเป็นผลดีคือทำาให้ประชาชนมีทางเลือก
เพิ่มมากขึ้นด้วย เช่นเดียวกับการผลักดันให้ลูก หรือหลาน หรือคู่สมรส หรือญาติพี่น้องลงสมัครรับเลือกตั้ง
อันเป็นลักษณะของการสร้างตระกูลการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องปกติและเป็นสิ่งที่ดี
เพราะได้นำาประสบการณ์จากรุ่นหนึ่งส่งต่อไปอีกรุ่นหนึ่ง รวมทั้งเป็นการรักษาฐานเสียงให้มั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งในแง่หนึ่ง
อาจจะมองได้ว่าระบบดังกล่าวทำาให้การเลือกบุคคลลงรับสมัครของพรรคการเมืองไม่ได้คำานึงถึงความรู้
ความสามารถ นอกจากนี้ ยังสามารถมองได้ว่าผู้สมัครที่สังกัดตระกูลการเมืองในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีความได้เปรียบผู้สมัครคนอื่นหรือผู้สมัครหน้าใหม่อยู่พอสมควร
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ทั้ง 6 เขตเลือกตั้งใน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ข้อมูลซึ่งสามารถเรียงลำาดับความสำาคัญของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้งได้ดังนี้
1. พรรคที่ชอบ 2. คนที่ใช่ 3. ความสัมพันธ์ที่ดี 4. การศึกษาต้องได้ ส่วนทัศนคติของผู้เลือกตั้งต่อพฤติกรรม
การทุจริตเลือกตั้งนั้น ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ยอมรับพฤติกรรมการทุจริตได้ แต่มีการแสดงท่าทีที่แตกต่างกันออกไป
ขณะที่ทัศนคติของผู้เลือกตั้งต่อผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นต่อ
การทำางานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่ยอมรับและเข้าใจได้ว่าทำาไมผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์
ถึงได้รับชัยชนะทั้ง 6 เขต ขณะที่ผู้สมัครที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งในครั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เห็นว่าควรลงสนามใน
ระดับท้องถิ่นต่อไปเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทางการเมือง เมื่อผู้ให้ข้อมูลต้องพูดถึงอนาคตของการเมืองไทย
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศจะลดน้อยลง ขณะที่ความคาดหวังต่อ
รัฐบาลชุดใหม่ผู้ให้ข้อมูลเกือบทั้งหมดต้องการให้รัฐบาลรีบแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ราคาผลผลิตจากภาคการเกษตร คือ ยางพารา ปาล์มนำ้ามัน และผลไม้ต่าง ๆ ให้มีราคาที่เพิ่มขึ้นโดยเร็วที่สุด
5.2 ข้อเสนอแนะจำกงำนวิจัย
การศึกษาวิจัยย่อยเรื่องนี้ขอนำาเสนอข้อเสนอแนะจากงานวิจัยไว้ 2 ประการ
ประการที่ 1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ
1.1 ควรยกระดับการทำางานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งให้มีบทบาท
ในการทำางานในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ กล่าวคือ การเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หน่วยงาน
ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งยังทำาหน้าที่เพียงจัดให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นตามตัวบทกฎหมายเท่านั้น
ไม่ได้แสดงบทบาทเชิงรุกในลักษณะของการกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก