Page 128 - kpiebook63013
P. 128
128 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
บทสรุปของงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ดำาเนินไปตามวัตถุประสงค์ทั้ง 6 ประการข้างต้น อันมีรายละเอียดดังนี้
5.1 สรุปผลกำรวิจัย
บรรยำกำศทำงกำรเมืองและกำรเคลื่อนไหวทำงกำรเมือง
ในพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีจำานวนพรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นจำานวนมาก เนื่องจาก
การจัดตั้งพรรคการเมืองไม่ได้มีความยุ่งยากมากนัก สนามการเลือกตั้งถูกปิดกั้นมาเป็นเวลานาน และระบบเลือกตั้ง
แบบจัดสรรปันส่วนผสมจูงใจให้พรรคการเมืองแต่ละพรรคพยายามจะเก็บคะแนนจากตัวแทนของพรรคทั่วประเทศ
ทั้งนี้เนื่องจากทุกคะแนนจะถูกนำามาคำานวณในระบบบัญชีรายชื่อของพรรค การเลือกตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ครั้งนี้ พรรคจำานวนมากที่จัดตั้งขึ้นใหม่ได้ส่งผู้สมัครหน้าใหม่เป็นจำานวนมากลงแข่งขัน ซึ่งทำาให้คาดการณ์ว่า
บรรยากาศการเลือกตั้งหรือการรณรงค์หาเสียงน่าจะมีความตื่นตัวมากกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา และที่สำาคัญอย่างยิ่ง
คือความเคลื่อนไหวของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และแกนนำาคณะกรรมการ
ประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(กปปส.) ที่ได้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทยขึ้นและพรรครวมพลังประชาชาติไทยเองได้ส่งคนใน
ตระกูลเทือกสุบรรณลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่ว่าจะเป็นคุณธานี เทือกสุบรรณ
คุณเชน เทือกสุบรรณ คุณภูมิ เทือกสุบรรณ ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากจำานวนพรรคและตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว
อาจจะมองได้ว่า ปัจจัยดังกล่าวย่อมจะส่งผลต่อบรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งและการเคลื่อนไหวในทางการเมือง
อย่างมาก แต่จากการลงพื้นที่และการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 เขตเลือกตั้ง โดยภาพรวมถือว่ากิจกรรม
ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระหว่างก่อนวันเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังวันเลือกตั้งเป็นไปโดยความเรียบร้อย
โดยเฉพาะบรรยากาศก่อนการหาเสียงเลือกตั้งนั้นค่อนข้างเป็นไปอย่างเสรีและเอื้อต่อการแข่งขัน จากข้อมูล
พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ในทุกเขตเลือกตั้งไม่พบการสร้างความกดดันจากกลุ่มการเมืองใด ๆ ไม่มีการ
ฟ้องร้องระหว่างพรรคการเมือง การไปแจ้งความเรื่องทำาลายแผ่นป้ายหาเสียงพบเพียงแค่กรณีเดียว วิเคราะห์
ได้ว่าผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งนี้ย่อมทราบดีว่าในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้ครองพื้นที่
มาค่อนข้างยาวนานและมีตระกูลการเมืองจำานวนไม่กี่ตระกูลได้สร้างฐานเสียงเอาไว้ค่อนข้างแน่นหนาแล้ว
การสร้างบรรยากาศที่เป็นปฏิปักษ์ของผู้สมัครหน้าใหม่กับเจ้าของพื้นที่เดิมจึงไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดประโยชน์มากนัก
ขณะเดียวกัน การปะทะเผชิญหน้ากันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรครวมพลังประชาชาติไทยก็ไม่ปรากฏ
เนื่องจากบุคคลจากทั้งสองพรรคก็มีความรู้จักคุ้นเคยกันมาก่อนและอย่างไรเสีย ผู้สมัครหรือตระกูลของผู้สมัคร
จากทั้งสองพรรคก็ยังคงต้องอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อไป บรรยากาศการหาเสียงและการแข่งขันจึง
เป็นลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยมากกว่าการมุ่งโจมตีกันและไม่มีการใช้อิทธิพลของแต่ละฝ่ายกดดันซึ่งกันและกัน