Page 130 - kpiebook63013
P. 130
130 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และพรรคการเมืองต่าง ๆ นอกจากนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้งกับประชาชนในพื้นที่โดยตรง
การประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ รวมถึงการสร้างศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตยระดับตำาบล มีการ
เชิญฝ่ายการเมืองมาให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันการทำาผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ประเด็นที่ฝ่ายการเมืองให้
ความสนใจมากที่สุดคือการยื่นและคำานวณบัญชีค่าใช้จ่าย ขนาดของแผ่นป้ายหาเสียง โปสเตอร์ จำานวนผู้ช่วย
หาเสียงต่อผู้สมัครหนึ่งคน รวมถึงการใช้สื่อในลักษณะต่าง ๆ นอกจากนี้ การขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ
ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานอื่น เช่น ข้าราชการระดับอำาเภอ กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน
นั้น จากการสัมภาษณ์ในพื้นที่ทั้ง 6 เขตเลือกตั้งพบว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนวางตัวเป็นกลาง ไม่ได้แสดงท่าทีสนับสนุน
พรรคใดหรือผู้สมัครท่านใดและไม่ได้ชักจูงโน้มน้าวประชาชนให้เลือกผู้สมัครคนใดเป็นพิเศษ
กำรเปลี่ยนพฤติกรรมทำงกำรเมือง แบบแผนพฤติกรรมของ
ประชำชน/กลุ่มกำรเมือง
จากงานวิจัยเรื่องการศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัด
สุราษฎร์ธานีในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ได้แตกต่างจากพฤติกรรมทางการเมืองในช่วงเวลาของการเลือกตั้งในปี
พ.ศ.2562 นี้มากนัก กล่าวคือ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ.2554 ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีกระแสความนิยมของ
พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่นี้เป็น
อย่างมาก การเสนอภาพลักษณ์ของคุณชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนแรกของคนภาคใต้ได้รับการตอบรับ
จากประชาชนในจังหวัด แม้คุณชวนจะไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้วก็ตาม แต่ภาพของคุณชวน
ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ที่ประชาชนในพื้นที่ยังคงนิยม ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกับการเลือกตั้งในปี
พ.ศ.2562 แล้ว ประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีก็ยังคงนิยมและให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองเป็นอย่างมาก
ชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรีอย่าง คุณชวน หลีกภัย หรือแม้กระทั่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยังคงได้รับการเอ่ยถึงและการยอมรับในแง่ของความซื่อสัตย์และไว้วางใจได้
สำาหรับพฤติกรรมในเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงนั้น การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2554 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ไม่พบการร้องเรียน หรือข้อกล่าวหาเรื่องการซื้อเสียง แต่พบว่ามีการใช้วิธีการจูงใจในรูปแบบอื่น เช่น
การฝากบุตรหลานเข้าเรียนต่อในสถานศึกษาหรือเข้าทำางาน การสนับสนุนอาหารในงานเลี้ยง งานบุญ งานศพ
หรือการเป็นเจ้าภาพในการแต่งงานของลูกหลานของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้ไม่ต่างจาก
การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2562 มากนั้น เพราะไม่มีการร้องเรียนหรือการกล่าวหาเรื่องการซื้อเสียง และพบว่า
ผู้สมัครมีการใช้การจูงใจในรูปแบบอื่นมากกว่าและได้กระทำามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ไม่ได้เพิ่งมาทำาในช่วงที่มี
การเลือกตั้งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การวิจัยครั้งนี้พบว่าการจูงใจในรูปแบบอื่น (ที่ไม่ได้เป็นการใช้เงินเพื่อซื้อเสียง) นั้น
ไม่ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนมากเท่ากับก่อนหน้านี้ กล่าวคือ ในเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 6
ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ระบุว่าการอุปถัมภ์ช่วยเหลือของผู้สมัครที่มีต่อตนเองหรือญาติพี่น้องไม่มีผลต่อ