Page 122 - kpiebook63013
P. 122
122 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปราศจากการทุจริตและตนเองมีศักดิ์ศรีมากพอ อย่างไรก็ตาม เหตุผลของผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ที่กล่าวว่า
ตนมีพรรคการเมืองและผู้สมัครที่ชอบอยู่แล้วนั้นแสดงให้เห็นว่าผู้ลงคะแนนเสียงมีความภักดีต่อพรรคการเมือง
หรือผู้สมัครสูง ซึ่งความภักดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ลงคะแนนเสียงได้เห็นถึงพฤติกรรมของพรรคและผู้สมัคร
มาระยะเวลาหนึ่งและลงคะแนนเสียงให้พรรคหรือผู้สมัครซำ้า ๆ ขณะที่พรรคการเมืองใหม่หรือผู้สมัครหน้าใหม่
อาจจะต้องใช้เวลาในการทำาให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ
ส่วนการได้มาซึ่งคะแนนเสียงโดยไม่ได้ให้เงินกับผู้ลงคะแนนโดยตรง แต่เป็นการให้เงินในรูปของ
การช่วยเหลือในงานสำาคัญต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมงานและให้เงินช่วยงาน (ใส่ซอง) เป็นจำานวนมาก เป็นต้น
ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) ให้ความเห็นว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก โดยมองว่าการช่วยเงิน
ในงานต่าง ๆ ไม่เกี่ยวข้องและเป็นคนละเรื่องกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง “การเลือกผู้แทนต้องเลือก
เพื่อส่วนรวม ไม่ใช่หวังแค่ประโยชน์ส่วนตัว” “การเลือกผู้แทนต้องไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก” ขณะที่มีผู้ให้สัมภาษณ์
ส่วนหนึ่ง (40 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าการนำาเงินมาช่วยเหลืองานสำาคัญนั้นจะมีผลก็ต่อเมื่อคนที่ช่วยเหลือนั้น
“เป็นคนที่สนิทกัน” “อาจมีผลบ้าง แล้วแต่ความสนิทว่าสนิทขนาดไหน เขาเป็นคนดีหรือเปล่า” “มีผล
รู้สึกเป็นบุญคุณ” ดังนั้น จึงพอจะกล่าวได้ว่าการช่วยเหลือโดยการให้เงินในงานสำาคัญต่าง ๆ ไม่มีผลต่อ
การตัดสินใจลงคะแนน แต่หากผู้ที่ให้การช่วยเหลือด้วยเงินมีความสนิทสนมกัน แสดงออกถึงความมีนำ้าใจ หรือ
พอรู้จักอยู่บ้างก็อาจจะส่งผลได้ สิ่งที่น่าสนใจคือการให้เงินกับผู้ลงคะแนนเสียงโดยตรงทำาให้เกิดทัศนคติในแง่ลบ
ต่อตัวผู้สมัครคนนั้นค่อนข้างมาก แต่การที่ผู้สมัครให้เงินไปให้กับผู้ลงคะแนนเสียงผ่านการใส่ซองช่วยงานต่าง ๆ
ไม่ได้ทำาให้เกิดทัศนคติในแง่ลบต่อตัวผู้สมัครมากนัก และสามารถทำาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนหนึ่งลงคะแนน
ให้กับเขาได้เช่นกัน
สำาหรับคำาถามที่ว่าการช่วยเหลือหรือให้ประโยชน์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงิน เช่น การช่วยคนใน
ครอบครัว หรือ การช่วยผู้ลงคะแนนเอง ส่งผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
(70 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่ามีผลค่อนข้างมาก “มีผล รู้สึกเป็นบุญคุณเพราะเกรงใจ” “การช่วยเหลือเราคือการพิสูจน์
ว่าเขาเป็นคนดีและเราจะตอบแทนโดยการเลือกได้” “มีผลถ้ามีบุญคุณมาก” ส่วนการเข้ามาร่วมกิจกรรมกับ
คนในชุมชน เช่น เป็นประธานเปิดงาน นั้น ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าไม่มีผลแต่อย่างใด
และบางคนบอกว่า “ไม่ได้รู้สึกอะไรเลยเพราะมันเป็นหน้าที่” “ไม่มีผล จะดูที่นโยบายและอุดมการณ์ของพรรค
เป็นหลักเพราะเชื่อว่าอุดมการณ์ของพรรคต้องใหญ่กว่าตัวผู้สมัครแค่คนเดียว” อย่างไรก็ตาม มีผู้ให้สัมภาษณ์
ส่วนหนึ่ง (40 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่าการเข้าร่วมงานของชุมชนอาจมีผลหากผู้สมัครคนนั้นเข้าร่วมงานบ่อยครั้งหรือ
พบเห็นได้ตลอดหรือเป็นญาติพี่น้อง
ดังนั้น สำาหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 6 การใช้เงินกับผู้ลงคะแนนเสียงโดยตรงไม่ได้เป็น
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ แต่การช่วยเหลือหรือให้ประโยชน์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงินค่อนข้างมีอิทธิพล
อย่างมากเพราะรู้สึกเป็นบุญคุณที่ต้องทดแทน และเมื่อได้สอบถามถึงปัจจัยเรื่องคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร
ก็พบว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างมากเช่นกัน โดยปัจจัยที่สำาคัญได้แก่ความเป็นญาติพี่น้องกัน ผู้ให้สัมภาษณ์
บางคนกล่าวว่า “ต้องเลือกญาติอยู่แล้ว” “มีผล เพื่อความสัมพันธ์ที่ดี แต่ต้องเป็นคนดีด้วย” “เลือก เพราะ