Page 118 - kpiebook63013
P. 118

118   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








                      ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงลำาดับรองลงไปซึ่งไม่ได้รับชัยชนะใน

             การเลือกตั้งควรแสดงท่าทียอมรับต่อผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ ต่อคำาถามที่ว่าผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ได้รับ
             ชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ควรลงสมัครรับเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นต่อไปหรือไม่ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เห็นว่า

             ควรลงสมัครรับเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นต่อไปเพราะจะได้หาประสบการณ์ในการทำางานในระดับพื้นที่
             ส่วนคำาถามที่ให้คิดไปในอนาคตว่า ภายหลังการเลือกตั้งของประเทศไทยในครั้งนี้จะส่งผลให้เกิดการลด

             ความขัดแย้งทางการเมืองลงได้บ้างหรือไม่ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าไม่สามารถจะลดความขัดแย้งลงไปได้
             ในทางตรงกันข้ามอาจจะเกิดความขัดแย้งมากขึ้นกว่าเดิม และคำาถามสุดท้ายคือรัฐบาลชุดใหม่ควรดำาเนิน

             นโยบายเรื่องใดให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือพื้นที่ภาคใต้ด้วยความเร่งด่วนที่สุดหรือไม่
             ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ตอบว่ารัฐบาลใหม่ควรให้ความสำาคัญและดำาเนินอย่างเร่งด่วนทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ

             เรื่องปากท้องของประชาชนการแก้ไขปัญหาราคายางพารา ปาล์มนำ้ามันตกตำ่าเพราะเป็นพืชเศรษฐกิจสำาคัญ
             ของภาคใต้ การลดปัญหาการคอรัปชั่น การกระตุ้นการท่องเที่ยว การสร้างความสงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

             และการดำาเนินรอยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง





                     เขตเลือกตั้งที่ 5


                      1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง


                      ผู้ให้สัมภาษณ์ในเขตเลือกตั้งที่ 5 ทุกคนแสดงทัศนะว่าหากมีผู้สมัครจ่ายเงินเพื่อจูงใจให้ไป

             ลงคะแนนเสียงนั้นจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจของตนและจะไม่เลือกผู้สมัครคนนั้น (หากพิจารณาจากข้อมูล
             ก่อนการเลือกตั้งที่ระบุว่าเขตเลือกตั้งที่ 5 ไม่มีผู้สมัครหรือหัวคะแนนใช้เงินในการจูงใจเพื่อให้ไปเลือกผู้สมัคร

             คนใดคนหนึ่งก็ทำาให้เข้าใจได้ว่าการใช้เงินเพื่อซื้อเสียงในพื้นที่นี้เป็นไปได้ยาก และตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเอง
             ก็น่าจะทราบในประเด็นนี้) ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เนื่องจากตนเองมีพรรคการเมืองและผู้สมัคร

             ที่ชอบอยู่แล้ว “ไม่รับเงิน และไม่เลือก เพราะจะเลือกคนที่ชอบและคนที่คิดไว้” ขณะที่บางคนให้เหตุผลว่า
             “โกงตั้งแต่เริ่ม เมื่อได้เป็น ส.ส.ก็คงโกงอีก” “ไม่ยอมรับการซื้อเสียง” “ไม่ชอบการทุจริต” “จ่ายเงินเพื่อซื้อไม่ได้”

             จากคำาตอบแสดงให้เห็นว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องการระบบการเมืองที่ปราศจากการทุจริ ตและตนเองมีศักดิ์ศรี
             มากพอไม่สามารถใช้เงินซื้อคะแนนของตนได้ อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ที่กล่าวว่า ตนมี

             พรรคการเมืองและผู้สมัครที่ชอบอยู่แล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าผู้ลงคะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งนี้มีความภักดีต่อ
             พรรคการเมืองหรือผู้สมัครสูง ซึ่งความภักดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ลงคะแนนเสียงได้เห็นถึงพฤติกรรมของพรรค

             และผู้สมัครมาระยะเวลาหนึ่งและลงคะแนนเสียงให้พรรคหรือผู้สมัครซำ้า ๆ ขณะที่พรรคการเมืองใหม่หรือ
             ผู้สมัครหน้าใหม่อาจจะต้องใช้เวลาในการทำาให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ


                      ส่วนการได้มาซึ่งคะแนนเสียงโดยไม่ใช้ตัวเงินให้กับผู้ลงคะแนนโดยตรง แต่เป็นการให้เงินในรูป

             ของการช่วยเหลือในงานสำาคัญต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมงานและให้เงินช่วยงาน (ใส่ซอง) เป็นจำานวนมากนั้น
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123