Page 121 - kpiebook63013
P. 121

121








                  ขึ้นลงตลอดเวลา” “มีเรื่องบัตรเขย่ง” “เห็นข่าวหลังเลือกตั้ง ไม่เชื่อมั่น” “ไม่เชื่อมั่น เพราะมีการเคลื่อนไหว

                  ตลอดเวลาและภาพรวมหลังการเลือกตั้งก็เป็นไปในทางลบ ไม่มีความน่าเชื่อถือ” “ไม่ เพราะ 1 ใน 50 คน
                  เลือกพรรคที่ได้คะแนนสูงสุด แล้วคะแนนที่มีมากมายนั้นมาจากที่ไหน” ซึ่งสะท้อนว่าประชาชนเชื่อมั่นใน

                  การทำางานของคณะกรรมการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น แต่ไม่เชื่อมั่นในผลคะแนนที่ประกาศโดยคณะกรรมการ
                  การเลือกตั้งกลาง


                          อย่างไรก็ตาม แม้ทุกคนจะไม่เชื่อมั่นในการนับคะแนน แต่ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนกลับแสดงทัศนะว่า

                  ผู้สมัครและพรรคที่แพ้ควรยอมรับผลการเลือกตั้งโดยไม่ต่อต้าน ซึ่งอาจมองได้ว่าประชาชนไม่ต้องการให้เกิด
                  ความวุ่นวายในทางการเมืองและต้องการให้ทุกอย่างจบลงโดยการที่ทุกฝ่ายยอมรับในผลการตัดสิน ทั้งนี้เพราะ

                  ประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีแนวโน้มสูงที่อาจจะไม่สามารถยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้ ผู้ให้สัมภาษณ์
                  ทั้งหมดแสดงความเห็นตรงกันว่า “เลือกตั้งไปแล้ว ความขัดแย้งก็ยังอยู่ และจะเพิ่มขึ้นอีก” (สอดคล้องกับทัศนะ

                  ก่อนการเลือกตั้งที่สะท้อนว่าประชาชนยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าพรรคการเมืองจะสามารถทำางานในระบบรัฐสภา
                  ได้อย่างราบรื่นมีประสิทธิภาพ) ดังนั้น ถ้าปล่อยให้แต่ละฝ่ายสามารถคัดค้านหรือทำาตามใจตนเองได้ก็อาจกระทบ

                  กับการทำางานของรัฐบาลและกลับมาวุ่นวายเหมือนก่อน


                          สำาหรับผลการเลือกตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่พรรคประชาธิปัตย์สามารถกุมชัยชนะได้ในทุกเขต
                  เลือกตั้ง และที่สำาคัญคือสามารถชนะพรรครวมพลังประชาชาติไทยที่มี คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำา
                  ผู้ให้สัมภาษณ์ให้เหตุผลที่ต่างกันออกไป เช่น “เพราะพรรคประชาธิปัตย์น่าเชื่อถือ” “คนใต้ชอบพรรคเก่าแก่”

                  “คนใต้เป็นสมาชิกมายาวนาน” “ชื่นชอบคุณชวน” “ชอบคุณอภิสิทธิ์” แต่สำาหรับในภาพรวมของทั้งประเทศ

                  พรรคประชาธิปัตย์ได้จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรน้อยลง ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นว่าเป็นเพราะ
                  “คนอยากลองอะไรใหม่ ๆ” “เบื่อการเมืองเดิม ๆ” “มีพรรคเพิ่มมากขึ้น” “เบื่อคำาพูด” ส่วนนโยบายที่
                  ประชาชนต้องการจากรัฐบาลมากที่สุดคือค่าจ้างและราคาผลิตผลการเกษตร โดยเฉพาะราคายางพาราและราคา

                  ปาล์มนำ้ามัน




                          เขตเลือกตั้งที่ 6



                          1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง


                          ผู้ให้สัมภาษณ์ในเขตเลือกตั้งที่ 6 ทุกคนแสดงทัศนะว่า หากมีผู้สมัครจ่ายเงินเพื่อจูงใจให้ไป
                  ลงคะแนนเสียงนั้นจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจของตนและจะไม่เลือกผู้สมัครคนนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่

                  ให้เหตุผลว่าเนื่องจากตนเองมีพรรคการเมืองและผู้สมัครที่ชอบอยู่แล้ว “ไม่รับเงิน เลือกพรรคที่ไว้ใจ เลือกพรรค
                  ที่ชอบ” ขณะที่บางคนให้เหตุผลว่า “ไม่รับ เพราะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่ประชาชนควรทำา” “ไม่เพราะตัวเองเป็นข้าราชการ

                  ต้องเป็นต้นแบบในการกระทำาเรื่องที่ถูกต้อง” “ไม่รับ ผิดกฎหมาย ทุจริต” “ไม่รับ การเริ่มต้นโดยการทุจริต
                  มีการถอนทุนคืนแน่นอนในอนาคต” จากคำาตอบแสดงให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องการระบบการเมืองที่
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126