Page 100 - kpiebook63012
P. 100

100 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา











                 กล่องข้อความที่ 2




                            “ดูเหมือนจะง่ายแต่โดยส่วนตัวคิดว่ามีความยุ่งยากโดยเฉพาะการคิดคะแนน

                       เพราะทุกคะแนนมีความหมายเพราะคนที่เขาจะไม่ชนะก็สามารถน�าเอากลับไปคิดได้อีก
                                           ซึ่งเป็นวิธีการที่ทบทวนมาเป็นอย่างดี”

                                                                      ผู้สัมภาษณ์วัย 30 ปี เขตเลือกตั้งที่ 2





                     “ชอบรูปแบบการเลือกตั้งครั้งเดิมมากกว่ารูปแบบเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะครั้งก่อนเราสามารถ
                     เลือกได้มากกว่า คือ เราสามารถเลือก ส.ส.คนที่เราชอบ แล้วยังสามารถเลือกพรรคการเมือง

                             ที่ชอบได้อีกด้วย แต่ครั้งนี้แค่กาเบอร์เดียวได้คนทั้งพรรคและนายกด้วย”

                                                                      ผู้สัมภาษณ์วัย 24 ปี เขตเลือกตั้งที่ 3









                      ในผ่านบัตรเลือกตั้งใบเดียว ซึ่งมีความแตกต่างจากกรณีการเลือกตั้งในรูปแบบผสมแบบคู่ขนานตาม
             รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.  2540 และ 2550 ที่สามารถแยกการตัดสินใจโดยเปิดโอกาสให้เลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ

             แบบแบ่งเขต และเลือกพรรคการเมือง จากระบบบัญชีรายชื่อได้ ซึ่งการเข้าใจในการเลือกตั้งระบบแบบใหม่นี้
             ทำาให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถวิเคราะห์ถึงผลของการเลือกตั้งที่จะตามมาด้วย โดยมองว่าระบบการเลือกตั้ง

             แบบใหม่อาจเอื้อให้กลับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ




                      รูปแบบการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารช่วงการเลือกตั้ง

                      พบว่าประชากรกลุ่มนี้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งฯ ผ่านรูปแบบการสนทนากับใน

             ครอบครัว คนที่ใกล้ชิด และคนในชุมชนในบางโอกาสโดยเฉพาะในแหล่งชุมชนเช่นตลาด


                      การติดตามข่าวสารทางการเมือง ประชากรกลุ่มนี้ให้ความสนใจเช่นเดียวกับประชากรกลุ่มแรก

             โดยให้ความสนใจกับนโยบายของพรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบโดยเฉพาะประเด็นทางเศรษฐกิจ แต่มีการให้
             ความสนใจในประเด็นของความสงบสุขของเหตุการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยเพิ่มเติมในการเลือกตั้งครั้งนี้
             รวมถึงการให้ความสนใจกับการรณรงค์หาเสียงโดยตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงของพรรคการเมืองนั้น

             บุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี รวมถึงบุคคลที่ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ ในเขตของตน
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105