Page 102 - kpiebook63012
P. 102
102 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
ตามที่กำาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 รวมถึงประสบการณ์ทาง
การเมืองในประชากรกลุ่มนี้ ได้ผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2535 (พฤษภาทมิฬ) , วิกฤตการณ์ทางการ
เมือง พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2557 การรัฐประหาร พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557 ดังนั้น
จึงมีประสบการณ์ทางการเมืองแตกต่างไปจากประชากรสองกลุ่มแรก ที่สามารถบอกถึงความแตกต่างการเลือกตั้ง
ระหว่างการมีบัตรเลือกตั้งใบเดียวหรือสองใบได้ รวมถึงประเด็นความตื่นตัวและสนใจในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น
เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งนั้นก็เนื่องจากการเลือกตั้งไม่ได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน โดยคาดหวังว่าการเลือกตั้ง
ครั้งนี้จะสามารถนำามาสู่เปลี่ยนแปลงในการปกครองระดับชาติและท้องถิ่นของตนได้ โดยเฉพาะความสนใจต่อ
ประเด็นเศรษฐกิจและนโยบายทางการเกษตร
ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงของระบบเลือกตั้งจากผลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เห็นได้ว่าประชากรกลุ่มนี้
มีความเข้าใจระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ โดยมองว่าคล้ายกับประสบการณ์การเลือกตั้งก่อนการมีรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และเห็นว่าการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 มีทั้งข้อดีข้อเสีย กล่าวคือ
กล่องข้อความที่ 4
“การเลือกตั้งครั้งนี้ง่ายกว่าครั้งก่อน ไม่ต้องหย่อนบัตรหลายบัตร ไม่ท�าให้งง
ครั้งก่อนมีบัตรเลือกตั้งสองใบ ท�าให้ตัดสินใจยาก และอาจท�าให้กาบัตรผิดพลาดได้”
ผู้สัมภาษณ์วัย 37 ปี เขตเลือกตั้งที่ 3
“ชอบการเลือกตั้งแบบนี้ มากกว่า
ส่วนตัวเลือกพรรคเป็นหลัก บุคคลเป็นรอง และเลือกพรรคเพราะนโยบายมากกว่า”
ผู้สัมภาษณ์วัย 46 ปี เขตเลือกตั้งที่ 3
จากกล่องข้อความที่ 4 สามารถสะท้อนถึงข้อดีของรูปแบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จาก
ประชากรกลุ่มนี้ได้ว่า การมีบัตรเลือกตั้งเหลือเพียงใบเดียว ทำาให้เกิดความเข้าใจง่ายมากกว่าในการเลือกตั้ง
ที่มีบัตรเลือกตั้งสองใบ ทั้งนี้ เนื่องจากผู้สิทธิ์เลือกตั้งฯ อาจมีผู้สมัครหรือพรรคการเมืองที่ต้องการเลือกอยู่แล้ว
จึงสามารถพิจารณาลงคะแนนเสียงได้เลยจากบัตรเลือกตั้งใบเดียว