Page 98 - kpiebook63012
P. 98

98    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา








                      ในการติดตามข่าวสารทางการเมือง ประชากรกลุ่มนี้ให้ความสนใจกับนโยบายของพรรคการเมืองที่

             ตนชื่นชอบ รวมถึงการให้ความสนใจบุคคลที่มีชื่อเสียงของพรรคการเมืองนั้น และบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอ
             ชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างมาก แต่ในทางกลับกันพบว่า ประชากรกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยรับทราบถึงผู้ลงสมัคร

             รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในเขตของตน โดยทราบเพียงหมายเลขประจำาตัวในเขตเลือกตั้งเพื่อวัตถุประสงค์
             ในการใช้สิทธิ์เท่านั้น


                      วิธีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารช่วงการเลือกตั้ง


                      สำาหรับวิธีการติดตามการเมืองช่วงการเลือกตั้งฯ และการรับทราบถึงความรู้ความเข้าใจในการเลือก
             ตั้ง นโยบายและผู้ลงสมัครฯ นั้น ประชากรกลุ่มมีการสื่อสารทั้งการเป็นผู้รับสารและส่งสาร จากทางช่องทาง

             อิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย (Social Media) อย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter)

             หรือแม้แต่ในห้องสนทนาบอร์ดเกมส์ เนื่องจากเป็นช่องทางที่เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ผ่านเครื่องมือสื่อสาร
             อย่างโทรศัพท์มือถือ โดยวิธีการดังกล่าวสามารถติดตามข่าวสารและการแสดงทัศนคติผ่านเรื่องราวทางการเมือง
             ต่าง ๆ ในเป็นประเด็นที่ตนสนใจ เช่น การให้ความเห็น กดแชร์ (Share) ในข่าวที่ตนสนใจ การติดตามเรื่องราว

             ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในขณะการเลือกตั้งผ่านแฮชแท็ก (#) ที่เป็นที่นิยม เช่น #ThailandElection2019

             #ทรงพระสเลนเดอร์ #ไทยรักษาชาติ #ฟ้ารักพ่อ #โตแล้วเลือกเองได้ ฯลฯ รวมถึงการให้ความสนใจในการดีเบต
             (Debate) ของตัวแทนพรรคการเมืองในระดับชาติที่สถานีโทรทัศน์จัดขึ้นผ่านการถ่ายทอดสดในช่องทาง
             เฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) หรือดูย้อนหลังผ่านยูทูป (Youtube)


                      สำาหรับการรับทราบข้อมูลในการเลือกตั้งในช่องทางอื่นที่พบได้จากประชากรกลุ่มนี้ ตามวิธีการ

             ที่ผู้สมัครฯ แบบแบ่งเขตที่เลือกใช้ เช่น เอกสารของผู้ลงสมัครฯ การประกาศเสียงตามสายของผู้นำาชุมชน

             โดยเฉพาะการใช้พาหนะต่าง ๆ พร้อมเครื่องกระจายเสียงตามตลาดนัดในช่วงเวลาเย็น สำาหรับการประชาสัมพันธ์
             ให้ความรู้การเลือกตั้งรับทราบเพิ่มเติมจากจดหมายประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการเลือกตั้ง การประกาศเสียง
             ตามสายของผู้นำาชุมชน


                      อาจกล่าวได้ว่า ประชากรกลุ่มอายุ 18-26 ปี ซึ่งแม้จะมีประสบการณ์การเลือกตั้งฯ ในวันที่

             24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นครั้งแรก แต่มีความตื่นตัวทางการเมือง โดยเฉพาะวิธีการรับรู้การสื่อสารทางการเมือง
             ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำาให้รับทราบนโยบายของพรรคการเมือง รวมถึงตัวบุคคลที่มีชื่อเสียงของ

             พรรคการเมือง บุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี




                      1.2) ประชากรกลุ่มอายุระหว่าง 23-36 ปี


                                                  “เพราะเป็นช่วงเวลาที่รอมานาน

                                และครั้งนี้ก็เป็นการเลือกตั้งที่น่าตื่นเต้นและก็ลุ้นว่าใครจะเข้ามาเป็นนายก”

                                                                             ผู้สัมภาษณ์วัย 22 เขตเลือกตั้ง 1
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103