Page 95 - kpiebook63012
P. 95

95








                  ผู้ลงสมัครฯ สู่หัวหน้าหัวคะแนนในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยอาศัยความไว้ใจ เช่น เคยทำางานร่วมกัน มีอุดมการณ์

                  ทางการเมืองร่วมกัน รวมทั้งมีผลประโยชน์ร่วมกันบางประการ โดยต่อมาหัวคะแนนในแต่ละเขตเลือกตั้ง
                  จะประสานกับหัวคะแนนในอำาเภอ และชุมชน ซึ่งถือว่ามีความใกล้ชิดกับประชาชน โดยเฉพาะญาติพี่น้อง

                  หรือเป็นผู้มีอิทธิพล เป็นที่นับถือของประชาชน เพื่อนฝูงใกล้บ้าน หรือในกลุ่มอาชีพเดียวกัน และเป็นที่ยอมรับ
                  ของผู้สมัครฯ ด้วย (ดังภาพที่ 21) ทั้งนี้ หัวคะแนนอาจได้รับการตอบแทนเป็นลักษณะเงิน สิ่งของ หรือได้รับความ

                  อุปถัมภ์ จากผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้จากข้อมูลการให้สัมภาษณ์พบว่าข้าราชการการเมือง
                  ส่วนท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องที่ในระดับชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำาหมู่บ้าน (อสม.) มีส่วนช่วย

                  และเป็นกลไกประสานงานสำาคัญของหัวคะแนนระดับชุมชนด้วย



                                                                                  ผู้สมัครฯ



                                                                       หัวคะแนน�ี�มีความใกล้ชิด
                                                                          ผู้ลงสมัคร ฯ



                                        หัวคะแนนในเ�ตเลือกตั�ง                                 การลงคะแนนเสี�งเลือกตั�ง




                          หัวคะแนนในชุมชน  หัวคะแนนในชุมชน  หัวคะแนนในชุมชน



                                    เครือญาติ    ประชาชน (ลูกบ้าน)  เพื�อนพ้องใกล้บ้าน /
                                                                   กลุ่มอาชีพ



                          ภาพที่ 22 ความสัมพันธ์ระบบหัวคะแนน โดยผ่านลงมายังระบบเครือญาติ ประชาชน (ลูกบ้าน)
                  หรือเพื่อนพ้องใกล้บ้าน /กลุ่มอาชีพ ในการเลือกตั้งฯ


                          ในช่วงระหว่างก่อนวันเลือกตั้ง “หัวคะแนนในชุมชน” จะต้องสำารวจข้อมูลในชุมชนถึงความนิยม
                  ชมชอบต่อพรรคการเมือง หรือตัวผู้สมัครพรรคการเมืองว่ามีความนิยมจากประชาชนในพื้นที่/ชุมชน

                  มากน้อยเพียงไร เพื่อนำาข้อมูลในการการันตีจำานวนผู้จะลงคะแนนเสียงให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้ว่า ในพื้นที่

                  ที่ตนรับผิดชอบจะมีการลงคะแนนเสียงให้ได้กี่คะแนนเสียง ซึ่งวิธีการสื่อสารและการติดตามการทำางานระหว่าง
                  หัวคะแนนแต่ละระดับชั้นจะสื่อสารผ่านการประชุมแบบไม่เป็นทางการ (ทานอาหารร่วมกัน) อยู่บ่อยครั้งเพื่อ
                  ผู้สมัครได้มั่นใจถึงฐานเสียงของตน หรืออาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สู่การเกิดข้อเสนอแนะในการปรับ

                  กลยุทธ์ที่ควรจะเกิดขึ้นในพื้นที่เมื่อมีพรรคคู่แข่งเข้าไปหาเสียงในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ รวมถึงเป็นผู้ประสานใน

                  การดำาเนินกิจกรรมที่นำาไปสู่การได้คะแนนความนิยมในพื้นที่ของผู้สมัครเพิ่มมากขึ้น โดยการดำาเนินการดังกล่าว
                  อาจทำาผ่านงานต่าง ๆ ในชุมชน เช่น กรณีงานประเพณีในชุมชน เช่น กรณีงานศพ หรืองานบุญในพื้นที่ เป็นต้น
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100