Page 96 - kpiebook63012
P. 96

96    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา








                      จากรูปแบบและวิธีการของ ผู้สมัครลงเลือกตั้งฯ หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง

             สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สามารถสรุปได้ว่า ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา
             ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยทั้งพรรคการเมืองเดิมและพรรคการเมืองใหม่ต่างก็

             ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่ทำาให้รูปแบบและวิธีการมีความแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
             เช่น การนำาเสนอนโยบายการหาเสียงที่ต้องดำาเนินไปอย่างรอบคอบ รัดกุม มากกว่าทุกครั้ง โดยมีการเน้น

             กลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารที่ชัดเจน เช่น กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอายุในจังหวัดพะเยา รวมถึงรูปแบบที่การรณรงค์
             หาเสียงทางการเมืองโดยเน้นตัวบุคคล เช่น การนำาเสนอผู้ที่พรรคเสนอให้เป็นผู้ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีตาม

             มาตรา 88 หรือ การนำาเสนอเฉพาะตัวบุคคลที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ แบบแบ่งเขตที่ได้รับความนิยมในพื้นที่


                      ในด้านวิธีการนั้น ผู้สมัครจากพรรคการเมืองเดิมและพรรคการเมืองใหม่ ต่างก็มีวิธีการนำาเสนอที่
             หลากหลาย ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในแต่ละวิธีการสื่อสารรณรงค์

             หาเสียงที่ชัดเจน แต่อย่างไรนั้น การสื่อสารในวิธีการต่าง ๆ จะสามารถสื่อสารได้ตรงกลับกลุ่มเป้าหมายที่เป็น
             ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งว่ามีรูปแบบและวิธีการในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างไร

             ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป





                     4.2.3 รูปแบบ และวิธีกำร ของประชำชน ภำคประชำสังคม และ
             กลุ่มทำงกำรเมือง ในกำรเลือกตั้งสมำชิกสภำผู้แทนรำษฎรจังหวัดพะเยำ



                      ในที่นี้จะนำาเสนอข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมถึง
             การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ในประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบ และวิธีการของประชาชน

             ภาคประชาชน และกลุ่มทางการเมือง ในการแสดงออกทางการเมืองต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             พ.ศ. 2562 จังหวัดพะเยาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ทั้ง 3 เขต ดังนี้


                      1) ประชาชน


                      ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ ในจังหวัดพะเยามีทั้งสิ้น 391,849 คน โดยคณะผู้วิจัยพบว่าผู้มีสิทธิ์

             เลือกตั้งฯ ทั้ง 3 เขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีรูปแบบและวิธีการที่ไม่แตกต่างกัน เช่น ต่างมีความรู้สึกว่า
             การเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยาครั้งนี้มีความคึกคัก และมีการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะช่วงใกล้วันเลือกตั้งฯ และ
             รับรู้รับทราบถึงการใช้เงินซื้อเสียงผ่านหัวคะแนนในชุมชนเกิดขึ้น แต่ไม่สามารถดำาเนินการต่าง ๆ ได้เนื่องจาก

             “ความกลัว” และ “ความปลอดภัย” ของตน


                      โดยแม้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ จะมีพรรคการเมืองส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมากที่สุดในการเลือกตั้งฯ
             จังหวัดพะเยาดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ พบการรณรงค์การหาเสียงเลือกตั้งในพื้นที่จากพรรคการเมือง

             ไม่กี่พรรค โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่มีการรณรงค์หาเสียงมากที่สุด คือ พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ
             และพรรคประชาธิปัตย์ จากการสื่อสารแบบตัวต่อตัว หรือ การรณรงค์หาเสียงด้วยการใช้พาหนะหาเสียงพร้อม
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101