Page 99 - kpiebook63012
P. 99
99
ประชากรกลุ่มอายุ 23-36 ปี คือผู้ที่เกิดใน พ.ศ. 2526 – 2539 มีจำานวนประมาณร้อย 16.48 ของ
จำานวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจังหวัดพะเยา (กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดพะเยา, 2562) โดยประชากรกลุ่มนี้จะมี
ประการณ์การเลือกตั้งอย่างน้อย 1 – 4 ครั้ง ตั้งแต่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 – 2557 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งภายใต้
ระบบผสมแบบคู่ขนาน ระหว่างแบบแบ่งเขตและสัดส่วน รวมถึงประสบการณ์ทางการเมืองในประชากรกลุ่มนี้
เช่น การเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และวิกฤตการณ์
ทางการเมือง ใน พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2557 ดังนั้น จึงมีประสบการณ์ทางการเมืองแตกต่างไปจากประชากร
กลุ่มแรก ซึ่งสามารถบอกถึงความแตกต่างการเลือกตั้งครั้งก่อนและครั้งนี้ได้ รวมถึงประเด็นความตื่นตัวและ
สนใจในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งนั้นเนื่องมาจากการเลือกตั้งไม่ได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน
โดยคาดหวังว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะสามารถนำามาสู่เปลี่ยนแปลงในการปกครองระดับชาติได้
ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงของระบบเลือกตั้งจากผลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เห็นได้ว่าประชากร
กลุ่มนี้มีความเข้าใจระบบการเลือกตั้งแบบใหม่โดยสามารถรู้ผลลัพธ์ของการลงคะแนนเสียงครั้งนี้ โดยมีทั้ง
กลุ่มที่มองถึงข้อดีและข้อเสียของระบบการเลือกตั้งดังกล่าว ดังกล่องข้อความที่ 1 และ 2
กล่องข้อความที่ 1
“การเลือกเพียงแค่คนเดียวเป็นการประหยัดเวลาในการเลือกตั้งมากกว่าครั้งที่ผ่านมา
สามารถเอาเวลาที่เหลือไปท�าอย่างอื่นได้”
ผู้สัมภาษณ์วัย 24 ปี เขตเลือกตั้งที่ 2
“การเลือกตั้งครั้งนี้ก็ดี ชอบคนไหนก็กาคนนั้นเลย วัยรุ่นไม่สับสนแต่คนแก่บางคนอาจไม่เข้าใจ
การปิดหีบที่ขยายเวลาออกไปเป็นห้าโมง ก็ดีคนจะได้เดินทางกลับมาใช้สิทธิ์ในช่วงเย็นได้”
ผู้สัมภาษณ์วัย 25 ปี เขตเลือกตั้งที่ 3
จากกล่องข้อความที่ 1 สามารถสะท้อนถึงข้อดีของรูปแบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จาก
ประชากรกลุ่มนี้ได้ว่า การมีบัตรเลือกตั้งเหลือเพียงใบเดียว และขยายเวลาจนถึง 17.00 น. สามารถอำานวยให้
การเลือกตั้งมีความสะดวกและรวดเร็ว เปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ไกลจากภูมิลำาเนากลับมาเลือกตั้งฯ ได้สะดวกขึ้น