Page 104 - kpiebook63012
P. 104
104 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
สำาหรับการรณรงค์หาเสียงของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ ที่ไม่ถูกต้อง เช่น กรณีการใช้เงินซื้อเสียงนั้น
ผู้มีสิทธิ์กลุ่มอายุ 37 – 59 ปีนี้ รับทราบความเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับประชากรกลุ่ม 24 – 36 ปี
1.4) ประชากรกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป
ประชากรกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้น คือผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ. 2503 โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในกลุ่มนี้จำานวน
ประมาณร้อยละ 22.55 ของจำานวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจังหวัดพะเยา (กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดพะเยา, 2562)
โดยประชากรกลุ่มนี้จะมีประการณ์การเลือกตั้งมาหลายครั้งเช่นดียวกับประชากรในกลุ่มอายุ 36 – 59 ปี
โดยทั้งอาจจะมีประสบการณ์ตั้งแต่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2520 ( การเลือกตั้งเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2522) ระบบการ
เลือกตั้งรวมเขต แบบแบ่งเขต หรือ รูปแบบผสม รวมถึงประสบการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2516 จนถึงวิกฤตการณ์ทางการเมืองใน พ.ศ. 2557 ดังนั้น จากการสัมภาษณ์พบว่าประชากรกลุ่มอายุ 60 ปี
ขึ้นไป ระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่มีผลหรือไม่ได้ส่งผลต่อความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการเลือกตั้ง
โดยใช้วิธีการจดจำาหมายเลขของผู้สมัครที่ตนชื่นชอบเพื่อลงคะแนนในวันใช้สิทธิ์เลือกตั้งฯ ดังกล่องข้อความที่ 6
กล่องข้อความที่ 6
“ครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อน สะดวกกับผู้สูงอายุ คือ ไม่ท�าให้เกิดความสับสน .......
แคจ�าว่าเบอร์ที่เราต้องการเลือกอยู่พรรคไหน”
ผู้สัมภาษณ์วัย 69 ปี เขตเลือกตั้งที่ 1
โดยความสนใจในการเลือกตั้งฯ ครั้งนี้ กลุ่มผู้สูงอายุได้ให้สนใจทั้งประเด็นในระดับนโยบายระดับชาติ
โดยเฉพาะนโยบายสวัสดิการของผู้สูงอายุ และประเด็นระดับชุมชนท้องถิ่นเป็นสำาคัญที่อยากเห็น “การเปลี่ยนแปลง”
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย เช่น ประเด็นการพัฒนาต่าง ๆ ในจังหวัดพะเยา หรือการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภค
พื้นฐานต่าง ๆ ในชุมชนท้องถิ่นของตน