Page 105 - kpiebook63012
P. 105

105








                          รูปแบบการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารช่วงการเลือกตั้ง


                          พบว่าประชากรกลุ่มนี้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งฯ เฉพาะในครอบครัว หรือบุคคล

                  อื่นที่ชื่นชอบพรรคการเมืองเดียวกัน หรือนักการเมืองคนเดียวกันเท่านั้น เพื่อลดความขัดแย้งหรือปะทะความคิด
                  ทางการเมือง


                           ในประเด็นรูปแบบการนำาเสนอของพรรคการเมืองในประชากรกลุ่มนี้ให้ความสนใจกับนโยบายของ

                  พรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบโดยเฉพาะประเด็นเรื่องสวัสดิการการรักษาพยาบาล รวมถึงการให้ความสนใจกับ
                  การรณรงค์หาเสียงทั้งจากบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี และบุคคลที่ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ
                  ในเขตของตนด้วย


                          วิธีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารช่วงการเลือกตั้ง


                          สำาหรับวิธีการติดตามการเมืองช่วงการเลือกตั้งฯ และการรับทราบถึงความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง

                  นโยบายและผู้ลงสมัครฯ นั้น ประชากรกลุ่มนี้รับทราบข้อมูลของพรรคการเมืองต่าง ๆ รวมทั้งความเคลื่อนไหว
                  ทางการเมืองในช่วงการเลือกตั้งผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุโดยเฉพาะ รวมทั้งการหาเสียงแบบตัวต่อตัวตามที่ชุมชน

                  ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง นอกจากนี้ ในกลุ่มวัยอายุ 60 ขึ้นไปยังได้รับข่าวสารการเลือกตั้งจากลูกหลานในครอบครัว
                  โดยเฉพาะการพูดชื่นชมพรรคการเมืองที่ลูกหลานชื่นชอบ และขอให้ตนลงคะแนนเสียงให้พรรคการเมืองนั้นด้วย


                          เนื่องจากกลุ่มวัยนี้มีวิถีชีวิตอยู่ในชุมชนมากกว่ากลุ่มวัยอื่น จึงพบเห็นวิธีการการรณรงค์หาเสียงของ

                  ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การใส่ร้ายป้ายสี การใช้เงินซื้อเสียง ซึ่งประเด็นหลังนี้มีความเห็นว่า
                  วิธีการมีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยหัวคะแนนมีกลยุทธ์ที่แยบยลมากขึ้น เช่น อาจชวนคนในหมู่บ้านไป

                  เดินแจกเอกสารของผู้สมัคร และการแจกเงินของหัวคะแนนก็ไม่ได้ทำาเฉพาะช่วงคืนหมาหอน (คืนวันก่อนลง
                  คะแนนเสียงเลือกตั้ง) เท่านั้น แต่มีการกระทำาเป็นระยะเวลาตลอดการหาเสียงเลือกตั้งฯ โดยเฉพาะเมื่อทราบ

                  ว่าพรรคการเมืองอื่นมีการแจกเงินหาเสียงด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีการดังกล่าวนั้นนำามาสู่ข้อสรุปถึงความรู้สึกต่อ
                  สถานการณ์ช่วงระหว่างการเลือกตั้งฯ ในจังหวัดพะเยา ว่ามีความ “ดุเดือด” ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา


                          ดังนั้น จากข้อค้นพบของรูปแบบและวิธีการของประชาชนโดยแบ่งตามประสบการณ์ทางการเมือง

                  สังคม และเศรษฐกิจ เป็นช่วงวัยต่าง ๆ ในการเลือกตั้งฯ ทั้ง 3 เขตเลือกตั้งของจังหวัดพะเยา (ตางแผนภูมิที่ 2)
                  พบว่าช่วงวัยและการมีประสบการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันนั้น ได้ส่งผลต่อรูปแบบและวิธีการในการเลือกตั้งฯ

                  ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และปัจจัยในการตัดสินใจการเลือกตั้งฯ ที่แตกต่างด้วยเช่นกัน ดังตารางที่ 11
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110