Page 108 - kpiebook63012
P. 108
108 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
2) ภาคประชาชน และกลุ่มทางการเมือง
“คนพะเยามีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่รุนแรง”
บทสัมภาษณ์ภาคประชาชนในจังหวัดพะเยา
19 มีนาคม พ.ศ. 2562
ภาคประชาชนและกลุ่มทางการเมืองในจังหวัดพะเยา ภายใต้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
สถานการณ์การแบ่งกลุ่มทางการเมืองของจังหวัดพะเยาไม่ได้มีการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนเช่นช่วงวิกฤตการณ์ทาง
การเมือง พ.ศ. 2557 โดยภาคประชาชนเห็นว่าส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมทางการเมืองของคนพะเยาที่ไม่รุนแรง
ดังเช่นตัวอย่างของบทสัมภาษณ์ข้างต้น แต่ตัวแทนภาคประชาชนบางกลุ่มได้มองว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวคือ
การเรียนรู้การต่อสู้ทางการเมืองรูปแบบใหม่ของภาคประชาชนและกลุ่มทางการเมืองในจังหวัดพะเยา ดังเช่น
ผลการลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ของคนจังหวัดพะเยา
โดยในประเด็นนี้จะเป็นการนำาเสนอข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนภาคประชาชน และ
กลุ่มทางการเมืองในรูปแบบ และวิธีการ ในการเลือกตั้งฯ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ซึ่งเบื้องต้นพบว่า
ภาคประชาชนฯ มองภาพการเลือกตั้งครั้งนี้เช่นเดียวกับความรู้สึกของประชาชน ว่าการเลือกตั้งมีการแข่งขัน
ค่อนข้างสูงมากกว่าการเลือกตั้งทุก ๆ ครั้ง โดยเปลี่ยนจากการแข่งขันระหว่างพรรคเพื่อไทย กับ พรรค
ประชาธิปปัตย์ เป็นพรรคการเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ
รูปแบบ
ในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดพะเยาในครั้งนี้ แม้จะมีจำานวน
หลายพรรคการเมือง แต่กลุ่มภาคประชาชนและกลุ่มทางการเมืองกลับไม่ได้มองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็น
การแข่งขันเชิงรูปแบบนโยบายหรือตัวบุคคลมากเท่ากับการเลือก “ฝ่ายที่เป็นประชาธิปไตย” หรือ “ฝ่ายที่
ไม่เป็นประชาธิปไตย”
แต่อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนและกลุ่มทางการเมืองก็เห็นด้วยว่า การที่รัฐธรรมนูญใหม่กำาหนดให้
พรรคการเมืองเสนอชื่อบุคคลที่จะดำารงตำาแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี มีส่วนในการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
ครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
วิธีการ
ภาคประชาชน และกลุ่มทางการเมือง มองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีวิธีการที่แตกต่างจากการเลือกตั้ง
ทุกครั้ง โดยเฉพาะการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ หลายคนได้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาช่วยรณรงค์หาเสียง ซึ่งทำาให้
ความคิดทางการเมืองแพร่หลายมากขึ้น โดยภาคประชาชนและกลุ่มทางการเมืองได้มีบทบาทในการเลือกตั้ง