Page 97 - kpiebook63012
P. 97

97








                  เครื่องกระจายเสียงตามแหล่งชุมชน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นป้ายโฆษณา สื่อโทรทัศน์วิทยุ หรือเอกสาร

                  จากผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือจากคณะกรรมการเลือกตั้ง


                          อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยพบว่า ความแตกต่างทางประสบการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
                  ตามกลุ่มอายุโครงสร้างประชาชน ทำาให้มีรูปแบบและวิธีการในการเลือกตั้งครั้งนี้แตกต่างกัน ดังนี้


                          1.1) กลุ่มประชากรอายุระหว่าง 18 – 22 ปี


                          ประชากรกลุ่มอายุ 18-22 ปี คือผู้ที่เกิดใน พ.ศ. 2540 - 2544 คิดเป็นร้อยละ 7.17 ของจำานวน

                  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจังหวัดพะเยา (กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดพะเยา, 2562) โดยมีประสบการณ์ทางการเมือง
                  ช่วงเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมืองเดือนตุลาคม พ.ศ.  2556 การรัฐประหารเดือนพฤษภาคม พ.ศ.  2557
                  และสำาหรับการเลือกตั้งนั้นกลุ่มประชากรกลุ่มนี้มีประสบการณ์ในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562

                  เป็นครั้งแรก ทั้งนี้พบว่าประชากรกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งจะเรียนหนังสือหรือทำางานอยู่ต่างจังหวัด และได้เดินทางกลับมา

                  เพื่อใช้สิทธิ์เลือกตั้งในเขตภูมิลำาเนาจังหวัดพะเยา โดยประชากรกลุ่มนี้มีความสนใจ และตื่นตัวในการเลือกตั้ง
                  ครั้งนี้ค่อนข้างสูง ซึ่งเหตุผลที่สำาคัญคือการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก (First-time Voters)
                  และต้องการรักษาสิทธิ์ทางการเมืองของตน โดยมีความต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ เช่น

                  ความคาดหวังต่อการเลือกตั้งครั้งนี้จะสามารถสร้างประชาธิปไตยในประเทศได้ พร้อมกับมีความสนใจในนโยบาย

                  ต่าง ๆ ที่พรรคการเมืองนำาเสนอ โดยเฉพาะนโยบายเรื่องการศึกษา นโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และ
                  นโยบายการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร


                          สำาหรับประสบการณ์การเลือกตั้งครั้งแรก จึงยังทำาให้ประชากรกลุ่มนี้ไม่สามารถระบุความแตกต่าง
                  ระหว่างการเลือกตั้งครั้งนี้กับการเลือกตั้งที่ผ่าน ๆ มา แต่มีความเข้าใจในระบบการเลือกการเลือกตั้งภายใต้

                  รัฐธรรมนูญใหม่อย่างเห็นได้ชัด เช่น การเข้าใจถึงวิธีการลงคะแนนและการนับคะแนนพอสมควร และยังเห็นว่า
                  การเลือกตั้งผ่านบัตรเลือกตั้งใบเดียวสามารถเข้าใจง่าย สามารถเข้าถึงในกลุ่มทุกวัยได้ แต่อาจส่งผลต่อ

                  ความสับสนในการคำานวณคะแนนเพื่อจัดสรรที่นั่งของ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และคาดการณ์ว่าการที่ผู้สมัคร
                  รับเลือกตั้งจากพรรคเดียวมีหมายเลขแตกต่างกันในแต่ละเขตเลือกตั้งฯ ไม่มีผลต่อการสร้างความสับสนใน

                  เจตนารมณ์ของผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งแต่อย่างใด


                          รูปแบบการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารช่วงการเลือกตั้ง


                          พบว่า ประชากรกลุ่มนี้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งฯ ผ่านรูปแบบการสนทนากับ
                  กลุ่มเพื่อนทั้งที่เป็นทางการ เช่น วิชาที่เรียนในสถาบันการศึกษา และการสนทนาแบบไม่เป็นทางการ เช่น

                  การจับกลุ่มสนทนากับเพื่อนอย่างเปิดเผยแต่จะเป็นลักษณะการพูดเล่น และมีสรรพนามแทนบุคคลที่กล่าวถึง
                  มากกว่าจะกล่าวถึงใครโดยตรง การสนทนาในประเด็นการเมืองและการเลือกตั้งกับคนในครอบครัวด้วย

                  รวมถึงการสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบอุดมการณ์ทางการเมืองเพื่อช่วยรณรงค์หาเสียง เช่น
                  การเป็นอาสาสมัครแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102