Page 91 - kpiebook63012
P. 91
91
ทั้งนี้ ในกรณีผู้สมัครรายเดิม การลงพื้นที่แบบเคาะประตูบ้านสามารถได้รับข้อมูลจากประชาชน
ในเรื่องคะแนนเสียง ความนิยมของตนในพื้นที่ เพื่อประเมินสถานการณ์การรณรงค์หาเสียงได้ ส่วนในกรณีของ
ผู้สมัครหน้าใหม่สามารถทำาให้ชาวบ้านรู้จักหน้าตาของผู้สมัครได้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้สมัครเองก็ถือโอกาสใน
การสำารวจพื้นที่ เพื่อนำาสิ่งที่พบเจอมาปรับปรุงนโยบายในการหาเสียงของตนเองให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมายได้ต่อไป
นอกจากนี้ ในรูปแบบดังกล่าว ยังมีการเกิด “หัวคะแนน” ซึ่งหมายถึง บุคคลที่ทำาหน้าที่โน้มน้าว
ให้เกิดการลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครฯ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การพูดโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นถึงข้อดีของผู้สมัคร
ที่ตนชื่นชอบ ซึ่งลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสื่อสารทางการเมืองแบบตัวต่อตัว โดยหัวคะแนนของผู้สมัครฯ
บางราย อาจเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ช่วยหาเสียงตามที่แจ้งกับ กกต. หรือต่างออกไปก็ได้ โดยหัวคะแนนอาจ
ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือ สิ่งของ หรือไม่ได้รับค่าตอบแทน ทั้งนี้อาจอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว เช่น
ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ หรือความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ หรืออาจไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวแต่เกิดจาก
ความนิยมหรือการชื่นชมอุดมการณ์ทางการเมืองของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้น จึงตัดสินใจเป็นหัวคะแนนให้
จากรูปแบบ และวิธีการของผู้สมัครที่มีลักษณะทางการนั้น สามารถเห็นถึงความชัดเจนของเป้าหมาย
ในการสื่อสารทางการเมืองของผู้สมัครในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งฯ กับผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งฯ
ตามคุณสมบัติกลุ่มอายุตามโครงสร้างประชากร ตารางที่ 10
ตารางที่ 10 สื่อสารการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งฯ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบแบ่งเขต จังหวัดพะเยา ในการเข้าถึงประชากรกลุ่มต่าง ๆ ตามคุณสมบัติกลุ่มอายุตามโครงสร้างประชากร
วิธีการสื่อสารทางการเมืองที่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มอายุ
18 - 26 ปี 27 - 35 ปี 36 – 59 60 ปีขึ้นไป
การแจกเอกสาร / /
การใช้พาหนะต่าง ๆ ในการหาเสียงเลือกตั้ง / /
การปิดแผ่นป้ายโฆษณา กรณีแผ่นติดประกาศเกี่ยวกับ / / / /
เลือกตั้ง
การหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ / /
อื่น ๆ กรณีวิทยุกระจายเสียง / /
อื่น ๆ กรณีการสื่อสารแบบตัวต่อตัว / / / /