Page 88 - kpiebook63012
P. 88

88    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา






                      การหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์


                      สื่อประเภทนี้ ได้แก่ เว็บไซด์ โซเชียลมีเดีย ยูทูป แอปพลิเคชัน อีเมล์ เอสเอ็มเอส โดยทั้งนี้ช่องทางนี้

             โซเชียลมีเดียอย่าง เฟซบุ๊ก (Facebook) ได้เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของผู้ลงสมัคร ส.ส. แบบ
             แบ่งเขตของจังหวัดพะเยาทั้งจากพรรคการเมืองเดิมและพรรคการเมืองใหม่ โดยทั้งนี้ระเบียบคณะกรรมการ

             การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง
             สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ได้ระบุให้ผู้ผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องระบุชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ และ

             วันเดือนปีผลิตไว้อย่างชัดเจนด้วย และหากเกิดค่าใช้จ่ายจากการใช้สื่อออนไลน์ต้องแจ้งต่อ กกต.


                      สำาหรับการเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา นับได้ว่าการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการสื่อสาร
             ทางการเมืองที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ ทั้งในระดับประเทศและจังหวัดพะเยา

             โดยเฉพาะหากผู้สมัครต้องการรณรงค์หาเสียงกับกลุ่ม “วัยรุ่น” และ “วัยทำางาน” โดยวิธีการดังกล่าวถือว่า
             มีความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเป็นอย่างมาก เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต ถูกกำาหนด

             ให้ใช้เงินในการหาเสียงได้ไม่เกิน 1,500,000 บาท โดยถือว่าเป็นจำานวนน้อยกว่าการเลือกตั้งทุกครั้ง และหากมี
             การใช้จ่ายเงินเกินจะมีโทษจำาคุก 1 – 5 ปี หรือปรับ 20,000 – 100,000 บาท หรือ 3 เท่าของจำานวนเงินที่เกินมา

             และถูกสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งเป็นเวลา 20 ปี


























                      ภาพที่ 17 ตัวอย่างของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ Facebook ส่วนตัวของผู้สมัคร ในการรณรงค์
             หาเสียงของผู้สมัครลงเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดพะเยา


                      ที่มา พรรคพลังประชารัฐ, 2562
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93