Page 83 - kpiebook63012
P. 83
83
รูปแบบการน�าเสนอด้านตัวบุคคล
ในการนำาเสนอตัวบุคคลถือเป็นประเด็นใหม่ของรูปแบบการหาเสียงเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา อันเป็นผล
จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 88 ระบุว่า “ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมือง
ที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคล ซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา
ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เกินสามรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัคร
รับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ และให้น�าความ
ในมาตรา ๘๗ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม” โดยมาตราดังกล่าวมีผลต่อรูปแบบการรณรงค์หาเสียง
ในการนำาเสนอด้านตัวบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 88 หรือที่เรียกว่า “แคนดิเดตนายกฯ” ของพรรคการเมืองนั้น เพิ่มเติม
จากการเลือกตั้งทุกครั้งที่มีการนำาเสนอแต่ตัวผู้สมัครฯ แบบแบ่งเขต
โดยการนำาเสนอแคนดิเดตนายกฯ เป็นอีกกลยุทธ์ที่สำาคัญของผู้สมัครบางพรรค โดยผู้สมัครทั้ง
พรรคการเมืองเดิมและพรรคการเมืองใหม่ต่างก็ยอมรับว่า แคนดิเดตนายกฯ สามารถเพิ่มคะแนนเสียงสนับสนุน
ของตนได้ โดยเฉพาะการที่พรรคตนมีแคนดิเดตนายกฯ ที่ประชาชนรู้จักถึงสองคน เช่น กรณีพรรคเพื่อไทย หรือ
กรณีบางพรรคที่ผู้ลงสมัครฯ แบบแบ่งเขตอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชน เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองใหม่
หรือเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ รูปแบบการนำาเสนอตัวบุคคลเป็นจะนายกรัฐมนตรีของพรรคตนก็สามารถทำาให้ได้รับ
คะแนนเสียงในครั้งนี้ได้ เช่น กรณีพรรคอนาคตใหม่ พรรคภูมิใจไทย พรรคเสรีรวมไทย เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าบางกรณีที่แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคการเมืองนั้น อาจไม่ได้รับความนิยม
หรือไม่เป็นที่รู้จักในจังหวัดพะเยา พรรคการเมืองนั้นก็มีรูปแบบการนำาเสนอตัวบุคคลเฉพาะผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ
แบบแบ่งเขตเท่านั้น ประกอบกับสถานการณ์การเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา ได้มีการเปลี่ยนแปลงขั้วทางการเมือง
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงทำาให้มีการใช้รูปแบบการนำาเสนอเฉพาะตัวบุคคลที่คาดว่ามีความสามารถและมีอำานาจ
ที่จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงจังหวัดพะเยาได้ หรือกรณีการเปลี่ยนชื่อให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถจำาผู้สมัคร
รับเลือกตั้งฯ แบบแบ่งเขตได้ เช่น กรณีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ทักษิณ” ของผู้สมัครพรรคเพื่อชาติในเขต 1 และ
เขต 3 ก็สามารถชี้ให้เห็นได้ว่าผู้สมัครฯ จังหวัดพะเยา ได้เน้นรูปแบบการนำาเสนอตัวบุคคลที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง
แบบแบ่งเขต เป็นการสื่อสารทางการเมืองที่สำาคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
2) วิธีการ
ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการหาเสียงเลือกตั้ง
ได้ส่งผลต่อวิธีการของผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยาทั้ง 3 เขตเลือกตั้ง ในช่วงระหว่างการเลือกตั้ง โดยจาก
การสัมภาษณ์ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สามารถแบ่งวิธีการของ
ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้ทั้งที่มีลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ กล่าวคือ