Page 81 - kpiebook63012
P. 81

81








                          1) รูปแบบ


                          รูปแบบการน�าเสนอนโยบาย


                          การนำาเสนอนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง นับได้ว่าเป็นเครื่องมือสำาคัญในการหาเสียงเลือกตั้งฯ เพื่อ
                  แสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนในเขตเลือกตั้งของตน และสำาหรับการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร จังหวัดพะเยา

                  ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่นี้ จากการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์การนำาเสนอนโยบายผ่านวิธีการการหาเสียง

                  ในรูปแบบต่าง ๆ พบว่าผู้สมัครฯ ได้แบ่งกลุ่มฐานเสียงคะแนนตามประเภทอาชีพ และกลุ่มอายุ ซึ่งนำาไปสู่
                  การนำาเสนอนโยบายที่แตกต่าง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อฐานกลุ่มคะแนนเสียง เช่น


                          •  กรณีน�าเสนอนโยบายในกลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยเน้นกลุ่มอาชีพ


                                       พบว่าผู้สมัครทั้งจากพรรคการเมืองเก่าและพรรคการเมืองใหม่ต่างก็ได้มีรูปแบบการ
                                นำาเสนอนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีพเช่นกัน โดยเฉพาะกับ “กลุ่มอาชีพเกษตรกร”

                                ซึ่งเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของประชาชนจังหวัดพะเยา จึงได้เกิดการนำาเสนอนโยบายเกี่ยวกับ
                                การเพิ่มรายได้ การประกันราคาสินค้าทางการเกษตร ซึ่งสามารถพบได้จากประโยคโฆษณา

                                ในป้ายและแผ่นพับประชาสัมพันธ์หาเสียงของผู้สมัครในหลายพรรคการเมือง เช่น

                                                    “ลดอ�านาจรัฐ ทวงคืนก�าไรให้ชาวนา”

                                       “เพิ่มพลังชุมชนท้องถิ่น ประกันราคา สินค้าการเกษตร ได้ด้วยตนเอง”


                                                         “ทวงคืนก�าไรให้ชาวนา”

                                                       “ปรับลด ปลดหนี้ เกษตรกร”



                          •  กรณีน�าเสนอนโยบายในกลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยเน้นตามกลุ่มอายุ


                                       โดยพบว่ากรณีการหาเสียงตามกลุ่มอายุนั้น ผู้สมัครทั้งพรรคการเมืองเก่าและ
                                พรรคการเมืองใหม่ ต่างมีรูปแบบการนำาเสนอนโยบายที่เหมือนกันกับกลุ่มผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

                                ต่างอายุกัน กล่าวคือ มีรูปแบบการสื่อสารนโยบายเพื่อสื่อสารไปยังแต่ละกลุ่มอายุ ตาม
                                ประสบการณ์ทางการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เช่น

                           1)   ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 18 – 26 ปี ผู้สมัครฯ ได้นำาเสนอนโยบายหาเสียงในประเด็น

                                ด้านการเปลี่ยนแปลงประเทศชาติสู่ความเป็นประชาธิปไตย โดยนโยบายที่นำาเสนออาจมี
                                ความเป็นนามธรรมสูง แต่ผู้สมัครฯ ก็มีความมั่นใจว่ารูปบแบบดังกล่าวกลุ่มเป้าหมายสามารถ

                                เข้าใจได้ เช่น

                                                   “เราคือเพื่อนร่วมทาง สร้างอนาคตใหม่”

                                              “หยุดผูกขาด ล้างระบบเส้นสาย ท�าลายคอร์รัปชัน”
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86