Page 76 - kpiebook63012
P. 76
76 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
4.2.1 สถำนกำรณ์วันรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต
จังหวัดพะเยำ
สถานการณ์วันสมัครรับเลือกตั้งฯ มีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างจากการเลือกตั้งฯ ทุกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเป็น
ผลจากประกาศของคณะกรรมการเลือกตั้ง ที่ได้มีการควบคุมการหาเสียงของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเข้มงวด
อาทิเช่น กฎหมายการเลือกตั้ง มาตรา 73 (3) โดยมีกำาหนดว่าห้ามผู้สมัครโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดมหรสพ หรือ
การรื่นเริงต่าง ๆ หรือ ประกาศ กกต. ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร 2561 และระเบียบ กกต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนการโฆษณาหาเสียง โดย
กฎหมายและประกาศดังกล่าวส่งผลให้วันรับสมัครฯ ผู้สมัครไม่สามารถใช้เสียงเพลงเพื่อปลุกเร้าสร้างบรรยากาศ
ความคึกคัก และการระดมการเสียงสนับสนุนหรือกองเชียร์ของตนเช่นการเลือกตั้งทุกครั้ง (ดังภาพที่ 9 -12)
สำาหรับประเด็นหมายเลขผู้สมัครฯ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลจากระบบ
การเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กล่าวคือ จากเดิมที่ผู้สมัครพรรคการเมือง
เดียวกันสามารถมีหมายเลขเดียวกันทั้งประเทศ จากการจับฉลากของหัวหน้าพรรคการเมือง เปลี่ยนแปลง
เป็นการจัดลำาดับการสมัคร หรือการจับฉลาก ในกรณีที่ผู้สมัครมาสมัครพร้อมกัน ในแต่ละเขตเลือกตั้ง ซึ่งส่ง
ผลให้พรรคการเมืองเดียวกันผู้สมัครอาจมีหมายเลขที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ลงสมัคร ส.ส. พรรค ก ในเขตหนึ่งได้
หมายเลข 1, ในเขตสองอาจได้หมายเลข 2 และในเขตสามอาจได้หมายเลต 3 เป็นต้น ซึ่งกรณีดังกล่าวได้ส่งผล
ให้ป้ายหาเสียง และรถแห่ ที่มารอในช่วงเช้ายังไม่สามารถติดหมายเลขผู้สมัครได้ (ดังภาพที่ 10) ยกเว้นผู้สมัคร
บางพรรคการเมืองที่มาสมัครในช่วงวันสุดท้าย สามารถคาดคะเน/ ทราบหมายเลขของตน ก็ได้จัดทำาป้าย
หาเสียงและรถแห่พร้อมติดหมายเลขมาล่วงหน้า
ภาพที่ 9 บรรยากาศหน้าศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา ในวันแรกของการเปิดรับสมัคร
(บันทึกภาพเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)