Page 80 - kpiebook63012
P. 80
80 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
แผนภูมิที่ 1 จำานวนผู้รับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จังหวัดพะเยา ตั้งแต่
พ.ศ. 2548 - 2562
จํานวนผู้สมัคร
90
85
80
70
60
50
40
30 30
20 21
13
10
0
2548 2550 2554 2560
ทั้งนี้ ปัจจัยสำาคัญของจำานวนผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา พ.ศ. 2562 ที่มีจำานวนสูงมากขึ้นนั้น
เป็นผลกระทบส่วนหนึ่งจากการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้ง เป็นรูปแบบวิธีการระบบจัดสรรปันส่วนผสม
ซึ่งทำาให้พรรคการเมืองต้องส่งตัวแทนลงสมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งก่อนจึงจะสามารถได้รับคะแนน
แบบระบบบัญชีรายชื่อ โดยมีความแตกต่างจากวิธีการระบบผสมแบบคู่ขนานที่ใช้มาตั้งแต่การเลือกตั้งภายใต้
รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อแยกออกจากกัน ดังนั้น การส่ง
ผู้สมัครฯ ในแต่ละเขตอาจไม่ได้หวังผลในการชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น แต่หมายถึงผลคะแนนที่จะถูกนับในการ
คำานวณสัดส่วนที่นั่งของสมาชิกสภาผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อ จนนำามาสู่การเกิดกระแสข่าวว่ามีพรรคการเมือง
ว่าจ้างให้บุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ เพื่อหวังผลการเก็บคะแนนจากผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ให้พรรคการเมืองของตนในการคำานวณให้สมาชิกผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
4.2.2 รูปแบบ แบบและวิธีกำร ของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมำชิก
สภำผู้แทนรำษฎร จังหวัดพะเยำ
รูปแบบ และวิธีการ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพะเยานั้น จะนำาเสนอผ่าน
กรอบแนวคิดการสื่อสารทางการเมือง ที่เกิดขึ้นในการรณรงค์หาเสียงการเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา พ.ศ. 2562
โดยเป็นข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขต รวมทั้งจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม
และไม่มีส่วนร่วม โดยมีข้อค้นพบคือ