Page 85 - kpiebook63011
P. 85

85








                          จากแผนภาพจะเห็นว่าจำานวนผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด 1,086,305 คน ในวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562

                  ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มคะแนนที่เลือกพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ที่เป็นกลุ่ม
                  พันธมิตรทางการเมือง คะแนนรวมของทั้ง 2 พรรคการเมืองหากมารวมกันจะมีคะแนนมากกว่า 50% ของจำานวน

                  ผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากระบบการเลือกตั้งที่ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวนั้นทำาให้
                  การคำานวณคะแนนของเขตเลือกตั้งมีผลกับที่นั่งที่จะได้จากระบบบัญชีรายชื่อ แต่ในอีกด้านก็เป็นการเกลี่ยคะแนน

                  ของฐานคะแนนพรรคเพื่อไทยไปสู่พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งความน่าสนใจของคะแนนที่ปรากฏให้เห็นนั้นไม่ใช่เงื่อนไข
                  ดังเช่นจังหวัดอื่น ๆ ที่เคยมีผู้สมัครจากพรรคไทยรักษาชาติ แต่เมื่อพรรคไทยรักษาชาติโดนยุบ พรรคอนาคตใหม่

                  จึงเป็นพรรคที่ได้เปรียบในการได้รับคะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ต้องการลงคะแนนให้พรรคไทยรักษาชาติ
                  จังหวัดเชียงใหม่ไม่มีการเปิดตัวผู้สมัครพรรคไทยรักษาชาติ ดังนั้น การทำางานของกลุ่มพรรคการเมืองจึงถือเป็น

                  ยุทธศาสตร์ในการเลือกตั้ง เพื่อกันคะแนนไปให้แก่พรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม คือ พรรคพลังประชารัฐ
                  ด้วยระบบการเลือกตั้งที่นำามาสู่จำานวนพรรคการเมืองที่มีจำานวนผู้สมัครมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้ง

                  ของจังหวัดเชียงใหม่ ทำาให้คะแนนทุกคะแนนมีค่าและกระจายไปยังพรรคการเมืองต่าง ๆ แม้พรรคพลังประชารัฐ
                  ในทางพฤตินัยจะเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาลในช่วงเวลาของการจัดการเลือกตั้ง แต่สัดส่วนคะแนนที่ได้ในจังหวัด

                  เชียงใหม่ไม่ได้สูงมากนัก เพราะสัดส่วนคะแนนที่พรรคนี้ได้มีความใกล้เคียงกับคะแนนที่พรรคการเมืองอื่น ๆ
                  รวมกันได้ (ยกเว้นพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่รวมกันได้รับ) โดยเฉพาะหากดูอันดับของคะแนนในแต่ละ

                  เขตเลือกตั้งพบว่ามีเพียง 3 เขต ใน 9 เขตเลือกตั้ง ที่พรรคพลังประชารัฐได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 2 (เฉพาะ
                  การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562) การพยายามเจาะพื้นที่ฐานคะแนนพรรคเพื่อไทยของพรรคพลังประชารัฐ

                  นับตั้งแต่ก่อนมีการเลือกตั้งมีทั้งรูปแบบของการสร้างและดึงเครือข่ายหัวคะแนนและผู้นำาท้องถิ่นมาสนับสนุน
                  ผู้สมัครของพรรค มีการควบคุมกำาชับเรื่องกฎ ระเบียบในการหาเสียงเลือกตั้ง ควบคู่ไปกับประกาศและคำาสั่ง

                  ของ คสช. ผ่านกลไกของส่วนราชการและควบคุมการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเข้มงวด






                  4.7 ควำมนิยมในตัวบุคคลกับตระกูลกำรเมืองในกำร

                  เลือกตั้ง



                          ตระกูลการเมืองไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่และไม่ใช่เรื่องผิดปกติในสังคมการเมืองระบอบประชาธิปไตย

                  เพราะระบบเลือกตั้งทั่วไปไม่มีการกำาหนดสิทธิประโยชน์หรือความได้เปรียบในกลไกการแข่งขันให้กับตระกูล
                  หรือชื่อเสียงของบุคคล แต่การเป็นตระกูลการเมืองถือเป็นความได้เปรียบของต้นทุนในการหาเสียงที่ช่วยลดภาระ

                  ในการลงทุนทั้งด้านการเงินและเวลาในการแนะนำาผู้สมัครรับเลือกตั้ง อีกทั้งตอกยำ้าค่านิยมทางสังคมที่สะท้อน
                  การยึดถือตัวบุคคลระบบชนชั้นและความเป็นพวกพ้องกลุ่มก้อนในสังคมได้ชัดเจนมากขึ้น แม้ตระกูลการเมือง

                  ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเรื่องผิดในสังคมแต่การเติบโตต่อเนื่องของตระกูลการเมืองในระบบการเมืองมีแนวโน้ม
                  นำาไปสู่การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องหรือการเกิด “ผลประโยชน์ทับซ้อน” (Conflict of Interests)
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90