Page 81 - kpiebook63011
P. 81

81








                  แต่ต้องทำาการตัดสินใจลงคะแนนโดยต้องเลือกจากการพิจารณาองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ การพิจารณาผู้สมัครเขต

                  พรรคการเมือง และชื่อของนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเสนอชื่อโดยพรรคการเมือง การหย่อนบัตร 1 ใบ โดยมี
                  สมการที่มาจากองค์ประกอบ 3 ส่วนต้องลงตัวจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อประชาชนเกิดความลังเลต่อการลงคะแนน

                  เสียงของตน ซึ่งทำาให้ประชาชนหรือผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งต้องเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งข้อมูลที่ได้
                  มีความน่าสนใจที่ประชาชนจะใช้เหตุผลที่ดีที่สุดจากประสบการณ์ในอดีตมาเป็นตัวกำาหนด นั่นทำาให้ทางเลือกแรก

                  ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ เลือกจากพรรคและนโยบายพรรค และอีกทางหนึ่งคือ เลือกจากบทบาทของผู้นำา
                  ที่มีการเปรียบเทียบระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้คะแนนเสียงที่ได้มีการเลือกจะไม่สะท้อนความต้องการ

                  ที่แท้จริงของประชาชนว่า ความเป็นตัวแทนที่ประชาชนเลือกแท้ที่จริงแล้วมาจากการตัดสินใจทางเลือกไหน
                  บทสัมภาษณ์บางส่วนจากการพูดคุยกลุ่มกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2, 3 และ 4 ในเดือนมีนาคม 2562

                  “เราชอบนโยบายของพรรคเขา แต่ไม่ชอบคนที่มาลง ส.ส.บ้านเรา ส่วนนายกฯ นี่ก็ไม่รู้มันก็เป็นมาแบบนี้
                  ตั้งนานแล้ว แต่ตอนนี้จะเลือกจากอะไรก็ยังไม่รู้”


                          “ก็คงเลือกจากพรรคเป็นหลัก เพราะเคยเลือกแบบนั้นแล้วคิดว่าดี ส่วน ส.ส.ในเขต ถ้าพรรคดี

                  ส.ส.ก็ท�างานตามพรรคและนโยบายพรรคอยู่แล้ว ส่วนคนที่เป็นนายกพรรคก็คงคิดมาให้แล้ว”


                          “มันก็ไม่ง่ายแต่ถ้าให้เลือกจะลงคะแนนโดยดูจากคนที่พรรคจะให้เป็นนายกเลย พอเห็นพรรคเสนอชื่อมา
                  ก็รู้อยู่แล้วว่าจะเลือกพรรคไหน...นโยบายจะได้ต่อเนื่อง ชอบให้ประเทศมีความมั่นคง”


                          ข้อสังเกตจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือ ความแตกต่างของความคิดเห็น
                  ความกล้าแสดงออกในความคิดเห็นระหว่างก่อนวันเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 กับการเก็บข้อมูลหลังการประกาศ

                  ผลการเลือกตั้งไปแล้ว ในช่วงก่อนวันเลือกตั้งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้ข้อมูลเชิงลึกและพยายามพูดในเชิงสัญลักษณ์

                  ข้อความให้นักวิจัยตีความมากกว่าการกล่าวถึงหรือเอ่ยชื่อออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งบรรยากาศแวดล้อมในช่วง
                  ระหว่างการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทำาให้เห็นถึงบริบททางการเมืองที่ยังปกคลุมไปด้วยความขัดแย้งและความ
                  หวาดระแวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองทั้งหลาย และยังเป็นพื้นที่

                  ที่เฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่รัฐ อันสืบเนื่องมาจากเครือข่ายทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยที่กระจายทั่วพื้นที่ และ

                  ในอดีตเคยมีเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงที่รุนแรงกรณีของคนเสื้อแดงในพื้นที่

                          เมื่อประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับระบบการเลือกตั้งเดิมคือ ระบบผสม

                  แบบสัดส่วนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้คำาขวัญที่ว่า “เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ” ซึ่งใช้รณรงค์ให้
                  ความรู้กับประชาชนมาตั้งแต่หลังปี 2540 กว่า 20 ปี ด้วยระบบที่ประชาชนเรียนรู้การลงคะแนนที่แยกพิจารณา

                  ระหว่างพรรคการเมืองกับผู้สมัคร ส.ส.เขตเลือกตั้ง ประกอบกับบริบททางการเมืองภายหลังรัฐธรรมนูญ 2540
                  ที่เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมมาก ระบบการเลือกตั้งแบบระบบผสมแบบสัดส่วนนี้ได้สร้างความเข้มแข็งและ

                  ความโดดเด่นให้แก่พรรคการเมืองมาก การศึกษาของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ (2558, น.38) ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง
                  ของกติกาการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง

                  ได้ที่นั่ง ส.ส.มากเกือบครึ่งหนึ่งของ ส.ส.ทั้งหมดในรัฐสภา นอกจากนี้ยังพบว่า นโยบายของพรรคไทยรักไทย
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86