Page 86 - kpiebook63011
P. 86

86    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่






             (สติธร ธนานิธิโชติ, 2556, น.8)  ตระกูลการเมืองกับการเลือกตั้งถูกผูกโยงไปกับความเติบโตของชนชั้นนำา
                                        12
             ในสังคมไทย เพราะกลุ่มชนชั้นนำา (Elite Class) ในสังคมไทยคือ กลุ่มผู้ที่มีความได้เปรียบทั้งในด้านทรัพยากร
             ทางเศรษฐกิจและสังคมที่นำามาสู่โอกาสในการเข้าถึงอำานาจทางการเมืองและการแข่งขันในกระบวนการ

             การเลือกตั้ง จนมาสู่การสถาปนาความคิดเรื่องตระกูลการเมือง (Political Dynasty หรือ Political Family)

             ที่กลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการทำาความเข้าใจการเมืองไทย การถ่ายทอดอำานาจทางการเมืองจากรุ่นสู่รุ่นภายใน
             ตระกูลหรือครอบครัว ทั้งนามสกุลเดียวกันหรือนามสกุลที่ผูกพันกันผ่านการแต่งงาน ต่างเป็นปรากฏการณ์ทาง
             การเมืองของการเมืองไทยในรอบกว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ผาสุก พงษ์ไพจิตร (สำานักข่าวอิสรา, 2556) ได้ระบุ

             ถึงความเชื่อมโยงของการเมืองและอำานาจในระดับชาติกับระดับท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกันไว้ด้วยเครือข่ายญาติพี่น้อง

             ในเครือตระกูลต่าง ๆ ซึ่งผาสุกเชื่อว่าความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายของตระกูลการเมืองในการเลือกตั้งนอกจาก
             สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเลือกตั้งแล้ว ยังมีผลต่อการเกื้อกูลของระบบงบประมาณโครงการต่าง ๆ ที่ทำาให้
             งบรัฐบาลจัดสรรลงสู่ท้องถิ่นผ่านระบบสายสัมพันธ์นี้ ซึ่งยิ่งทำาให้อำานาจและความมั่งคั่งของตระกูลการเมือง

             มีมากขึ้น


                      ตระกูลการเมืองยังเชื่อมโยงกับประเด็นเรื่องของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์อย่างแนบแน่น ระบบ
             ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมสร้างระบบชนชั้นทางสังคมและการเมือง โดยเฉพาะตระกูลการเมืองที่มีทุนทาง

             การเมืองและเศรษฐกิจจนมีบทบาทและสถานภาพในโครงสร้างชนชั้นส่วนบนของจังหวัด การสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์
             ผ่านเครือข่ายหัวคะแนน ผู้นำาชุมชน และผู้รับการอุปถัมภ์กระทำาผ่านความสัมพันธ์กับกลุ่มตระกูลการเมือง

             ในงานของ กนก วงษ์ตระหง่าน มีการเชื่อมโยงประเด็นความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ที่ผู้อุปถัมภ์กับผู้ใต้อุปถัมภ์
             มีอำานาจและทรัพยากรไม่เท่ากัน ผู้ใต้อุปถัมภ์จึงต้องพึ่งพาผู้อุปถัมภ์ ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้สอดคล้องกับ

             วัฒนธรรมการยึดติดตัวบุคคล (Personalism) ของสังคมไทย (กนก วงษ์ตระหง่าน, 2528, น.336) ตระกูลการเมือง
             จึงเป็นปัจจัยทางการเมืองในการเลือกตั้งที่มีพลังต่อการสร้างเครือข่ายและนำามาสู่การชนะการเลือกตั้งได้


                      ในขณะที่พรรคการเมืองที่มีฐานของตระกูลการเมืองเป็นฐานคะแนนเสียงจะสามารถคาดการณ์แนวโน้ม
             การชนะการเลือกตั้งในระดับเขตเลือกตั้งได้จากเครือข่ายการเมืองของคนในตระกูล ซึ่งมองได้ว่าพรรคการเมือง

             เองเห็นถึงความได้เปรียบในเชิงทรัพยากร ทุน และอำานาจจากตระกูลการเมืองในระดับพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ อยู่
             อีกด้านหนึ่งตระกูลการเมืองถูกมองในเชิงกลยุทธ์การแข่งขันของพรรคการเมืองมากกว่าการตอบโจทย์ด้าน

             ความหลากหลายหรือความต้องการของประชาชน การต่อสู้ในสนามเลือกตั้งของตระกูลการเมืองที่มีผู้สมัคร
             นามสกุลเดียวกันหรือเป็นเครือญาติกัน แท้จริงแล้วช่วยลดภาระให้พรรคการเมืองในการสนับสนุนทั้งในด้าน

             การเงินหรือการรณรงค์หาเสียง เพราะความเป็นครอบครัวหรือความเป็นตระกูลทำาให้การแข่งขันถูกเดิมพัน
             ด้วยชื่อเสียงและการรักษาทรัพยากรในพื้นที่ของตระกูลตนเองไว้ จากการศึกษาของสติธร ธนานิธิโชติ (2556,

             น.11) ในการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พบว่าพรรคเพื่อไทยคือพรรคการเมืองที่มี
             จำานวนตระกูลการเมืองชนะการเลือกตั้งทั้งในระบบเขตเลือกตั้งและระบบบัญชีรายชื่อมากที่สุด คือ 19 ตระกูล

             40 คน รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 17 ตระกูล ซึ่งความเชื่อมโยงนี้ทำาให้ผู้วิจัยมองกลับมาที่จังหวัดเชียงใหม่

             12   สติธร ธนานิธิโชติ ได้ให้ความหมายของตระกูลการเมืองที่ไม่ได้จำากัดอยู่เพียงการมีบุคคลในตระกูลเดียวกันมากกว่าหนึ่งคน
             ได้รับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใดครั้งหนึ่งเท่านั้น แต่ยังต้องหมายถึงการได้รับการเลือกตั้งของคนในตระกูลเดียวกันใน
             การเลือกตั้งหลายครั้ง ที่สำาคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การที่ตระกูลของนักการเมืองตระกูลใดจะถูกนิยามว่าเป็นตระกูลการเมือง
             ที่สมบูรณ์ได้ ตระกูลนั้นจะต้องมีความสามารถในการส่งต่อความสำาเร็จในการเลือกตั้งจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นต่อไปได้ด้วย
             แม้ในบางครั้งอาจจะมิใช่การส่งต่อกันโดยทันทีก็ตาม
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91